วันเสาร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

รายงานการสร้าง และผลการใช้แบบฝีกทักษะของนางพวงเพชร ใชยนวล

แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดทฤษฎี พหุปัญญา รายวิชาการงานอาชีพและเทคโนโลยี 4
รหัสวิชา ง40104 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน
ผู้ศึกษา
นางพวงเพชร ใชยนวล (ศิลปศาสตร์บัณฑิต (บริหารธุรกิจ) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่)
บทคัดย่อ

การสร้างและการศึกษาผลการใช้ ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ตามแนวคิดทฤษฎีพหุปัญญา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและพัฒนาประสิทธิภาพของชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม 3) เพื่อศึกษาผลการพัฒนาพหุปัญญาของนักเรียนหลังการใช้ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจและ
เจตคติของนักเรียนที่มีต่อการใช้ชุดแบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม จำนวน 6 ชุด แบบทดสอบหลังการทำชุดฝึกรวม 6 ชุด แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของแบบฝึก 30 ข้อ แบบวัดความสามารถทางพหุปัญญา 8 ด้าน ชนิด
5 ตัวเลือก จำนวน 64 ข้อ แบบสำรวจความพึงพอใจและเจตคติต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ
การดำเนินการทดลอง ได้ปฏิบัติดังนี้ 1) เตรียมเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลให้เพียงพอ 2) ทดสอบก่อนเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ 3) ให้กลุ่มตัวอย่างได้เรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ 4) ทดสอบหลังเรียนด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ 5) วัดความสามารถทางพหุปัญญา 8 ด้าน ด้วยแบบวัด ชนิด 5 ตัวเลือก จำนวน 64 ข้อ 6) สำรวจความพึงพอใจและเจตคติต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม


การทดลองใช้กับนักเรียน ได้ดำเนินการตามขั้นตอนดังนี้ 1) การทดลองแบบเดี่ยว
กับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง สังเกตพฤติกรรม สอบถามปัญหาที่เกิดขึ้น
จดบันทึกข้อสังเกตและปัญหาแล้วนำมาแก้ไขข้อบกพร่อง เพื่อนำไปทดลองแบบกลุ่มเล็ก
2) ทดลองแบบกลุ่มเล็กกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 10 คน เป็นนักเรียนเก่ง 2 คน ปานกลาง 6 คน และอ่อน 2 คน เก็บข้อมูลข้อดี ข้อที่ควรปรับปรุง หรือสภาพปัญหาที่นักเรียนพบ นำมาปรับปรุงให้เกิดความชัดเจนและเหมาะสมกับเวลา 3) การทดลองภาคสนาม ใช้กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่างชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/8 โรงเรียนส่วนบุญโญปถัมภ์ ลำพูน จำนวน 38 คน แล้วนำคะแนนที่ได้ไปหาประสิทธิภาพ

ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1) แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจขนาดย่อม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่องความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับธุรกิจขนาดย่อม การดำเนินธุรกิจขนาดย่อม การวิเคราะห์สภาวะแวดล้อมองค์กร การวิเคระห์ด้านการตลาด การวิเคราะห์ด้านการเงิน และแผนธุรกิจ มีประสิทธิภาพ E1/ E2 เท่ากับ 83.99 / 84.06 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดคือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์พบว่า ในภาพรวมคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนเท่ากับ 17.37 คะแนน และคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 30.76 คะแนน และการทดสอบค่าที มีคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลการพัฒนา
พหุปัญญาของนักเรียนหลังการใช้แบบฝึกทักษะพัฒนาการคิดวิเคราะห์ เรื่องการประกอบธุรกิจ
ขนาดย่อมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.05) ด้านที่มากที่สุดคือด้านดนตรี อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52) รองลงมาคือด้านร่างกายและการเคลื่อนไหว อยู่ในระดับมาก ( = 4.20) และน้อยที่สุดคือ ด้านตรรกะและคณิตศาสตร์ อยู่ในระดับมาก ( = 3.66) นอกนั้นอยู่ในระดับมาก
ทุกด้าน 4) นักเรียนมีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ดีต่อการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ หลังการใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจและมีเจตคติ
ที่ดี อยู่ในระดับมาก ( = 4.11) และเมื่อพิจารณาแต่ละรายการพบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจและมีเจตคติที่ดีอยู่ในระดับมากที่สุด 3 รายการ เรียงตามลำดับดังนี้ คือ ข้อที่ 6 กิจกรรมการเรียนรู้มีความสนุกสนาน สร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียน ( = 4.60) ข้อที่ 19 กิจกรรมการเรียนรู้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ ( = 4.55) และข้อที่ 4 ความเหมาะสมของกิจกรรมแต่ละกิจกรรม ( = 4.53) นอกนั้นนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากทุกรายการ

วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

โครงการห้องสมุด 3 ดี

โครงการ “ห้องสมุด 3 ดี” มีรายละเอียด คือ
1. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรห้องสมุด เพื่อพัฒนาบุคลากรที่ไม่มีความรู้ด้านบรรณารักษศาสตร์ หรือสารสนเทศศาสตร์ สามารถดำเนินการบริหาร จัดการห้องสมุดได้
จำนวน 100 คน แบ่งเป็น 2 รุ่น ๆ ละ 50 คน รุ่นที่ 1 วันที่ 15-19 มีนาคม 2553
รุ่นที่ 2 วันที่ 19-23 เมษายน 2553 ระยะเวลาการอบรม 5 วัน
2. จัดประกวด “ต้นแบบห้องสมุด 3 ดี”
ใช้หลักเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุด 3 ดี และตัวบ่งชี้สำหรับสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการ
การอาชีวศึกษา โปรดอ่านและโหลดจากเว็บไซต์ของสำนักมาตรฐานการอาชีวศึกษาและวิชาชีพ
วิธีการคัดเลือก แบ่งเป็น
1. ระดับจังหวัด อศจ.จะเป็นผู้ประเมิน ทุกจังหวัดต้องมีต้นแบบห้องสมุด 3 ดี
2. ระดับภาค สถาบันการอาชีวศึกษา ทั้ง 19 สถาบัน จะเป็นผู้ประเมินคัดเลือก
3. ระดับประเทศ คณะกรรมการจากส่วนกลาง เป็นผู้ประเมินคัดเลือก “ต้นแบบห้องสมุด 3 ดี” คือ ขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก

โครงการ “ส่งเสริมนิสัยรักการอ่าน” มีรายละเอียด คือ
1. จัดประชุม/สัมมนา/เสวนาเกี่ยวกับการอ่าน
2. จัดนิทรรศการ
3. จัดประกวดการอ่าน
ระยะเวลาดำเนินการ เดือนสิงหาคม 2553
หากมีข้อสงสัยสอบถามได้ที่ นางสาวฐิติรัตน์ สุวรรณปราโมทย์ โทร.084-144-1651 หรือ 0-2281-5555 ต่อ 1409
จึงเรียนมาเพื่อทราบ