วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552

ประชุมใหญ่สามัญประจำปีสมาคมห้องสมุด 2552

เรียน สมาชิกชมรม ชอท. ทุกคน
ปีนี้สมาคมฯ จัดประชุมใหญ่สามัญประจำปี วันที่ 8 ธันวาคม ขอเชิญสมาชิกทุคนเข้าร่วมประชุม
ส่วนการโอนเงิน ห้องสมุด 3 ดี ศน. แจ้งว่า ได้ดำเนินการแล้ว แต่ติดอย่ในขั้นตอนการโอนเงินซึ่งเป็นเรื่องของสำนักอื่น
ใครที่ยังไม่ได้ชมห้องสมุด 3 ดี ดูได้ที่ http://icts.npru.ac.th/~513234304/

งานวิจัยในชั้นเรียนการพัฒนากระบวนการคิดจากการอ่านโดยใช้แบบฝึก

การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเพื่อแก้ปัญหาผ้เรียนสรุปความจากการอ่านไม่เป็น โดยทดลองกับผ้เรียนระดับ ปวส.1 แผนกยานยนต์ (ทวิภาคี) วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม
สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) โดยเปรียบเทียบคะแนนกิจกรรมจากแบบฝึกและคะแนนกิจกรรมการจดบันทึก
ผลการวิจัยพบว่า ผู้เรียนมีทักษะในการอ่านเฉพาะด้านการจับใจความ สามารถทำแบบทดสอบชุดที่ 2 ได้ดี แต่การอ่านเพื่อสรุปความยังทำไม่ดี และเมื่อเปรียบเทียบกับคะแนนกิจกรรมการจดบันทึกพบว่า ผู้เรียนมีคะแนนการจดบันทึกเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 66 เพิ่มจากเดิมร้อยละ 26
แสดงว่า การพัฒนา ทักษะกระบวนการคิดจากการอ่านโดยใช้แบบฝึก ทำให้ผู้เรียนมีทักษะในการคิดวิเคราะห์เพิ่มขึ้น แต่ไม่มากนัก พบว่าผู้เรียนยังไม่สามารถสรุปเรื่องที่ได้จาการอ่านได้ดีพอ
ปัญหาและข้อเสนอแนะ
1. เนื้อหาในแบบฝึก ชุดที่ 1 ควรยาวเกินไป ทำให้ผู้เรียนไม่อยากอ่าน ครูจึงต้องกระตุ้นและตั้งคำถาม เพื่อกระตุ้นความสนใจ
2. เนื้อหาในแบบฝึกชุดที่ 2 มีจำนวนเรื่องมาก จะต้องเรียงลำดับคำถามให้ตรงกับเนื้อเรื่องเพื่อฝึกให้ผู้เรียนคิดตามได้ทัน

วันพฤหัสบดีที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2552

ผลสอบ

พรรณทิพย์ 3.5, ศรัญญู 3 ส่วนคนอื่นๆ ที่เหลือ ได้เกรด 4 จ๊ะ

วิจัยในชั้นเรียนวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ

บทคัดย่องานวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อผู้วิจัย นางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงค์
ชื่องานวิจัย การพัฒนารูปแบบกิจกรรม การสอน โดยใช้เว็บบลอก
วิชา ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ รหัสวิชา 3000-1601 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2551
สรุปผลการวิจัย
การวิจัยในชั้นเรียนครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีการสอนที่ทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างมีความสุข ประหยัดทรัพยากรในการเขียนรายงาน โดยใช้เว็บบลอกมาช่วยในการจัดการเรียนการสอน วิธีการดำเนินการ นำนวัตกรรมไปทดลองใช้กับผู้เรียนกลุ่มตัวอย่าง เก็บคะแนนพฤติกรรมก่อนและ หลังใช้นวัตกรรม เพื่อหาประสิทธิภาพนวัตกรรม โดยตั้งเกณฑ์ไว้ ว่า ผลคะแนนพฤติกรรมหลังใช้จะต้องสูงกว่าก่อนใช้ ปรับปรุงข้อบกพร่องที่เกิดจากขั้นตอนการทำกิจกรรม และนำวิธีการไปใช้กับผู้เรียนทั้งหมด เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล ได้แก่ บลอก แบบสังเกตพฤติกรรม แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ สถิติ ที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( x) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยเปรียบเทียบผลคะแนนพฤติกรรมระหว่างก่อนใช้และหลังใช้วิธีการ สอน ผลการวิจัย พบว่าการพัฒนารูปแบบการสอน โดยใช้เว็บบลอก ผลคะแนนพฤติกรรมการเรียนรู้ของผู้เรียนสูงขึ้น โดยคะแนนหลังใช้นวัตกรรมสูงกว่าก่อนใช้นวัตกรรม ร้อยละ 51.27 ค่าดัชนีประสิทธิผล 0.90

วันจันทร์ที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

Working places, furniture and technology: Strategies of flexibility of university library buildings - the case of Bozen/Bolzano

Working places, furniture and technology: Strategies of flexibility of university library buildings - the case of Bozen/Bolzano

Klaus Kempf
"Flexibility" as the basic principle of modern library buildings

นานนับศตวรรษที่ ห้องสมุดคือแหล่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดถูกออกแบบมาให้เป็นที่เก็บทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการอ่าน 20 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดแนวคิดห้องสมุดเสมือนขึ้น เป็นห้องสมุดที่ไม่ต้องการอาคารแต่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ ในปัจจุบัน ได้เกิดแนวคิดใหม่ตามบริบทของห้องสมุด ถือว่า อาคารห้องสมุดยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง แต่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามยุคสมัย
เกอร์ฮาร์ด เลียเบอร์ หัวหน้าอาคารห้องสมุดในเยอรมนี ได้ศึกษาดูงานในสหรัฐอเมริกา จากประสบการณ์ทำให้เขารับรู้ถึง นิยาม ของ “ยืดหยุ่น” เสน่ห์ของการก่อสร้างห้องสมุดสมัยใหม่ในเยอรมนี ตั้งแต่ยังคงไม่มีการก่อสร้างแบบโมดูลล่า จนหลายปีต่อมา การปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดให้มีความยืดหยุ่นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ อาคารห้องสมุดสมัยใหม่
“ยืดหยุ่น” กับยุคห้องสมุดประสม
ช่วงการปรับเปลี่ยนในห้องสมุด การออกแบบ จะต้องกำหนดความต้องการในการจัดวางวัสดุสิ่งพิมพ์และวัสดุดิจิตอลเข้าไปด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการจัดห้องสมุดได้เปลี่ยนไปเป็นห้องสมุดประสม (ห้องสมุดสื่อประสม , น้ำทิพย์ วิภาวิน) อย่างไรก็ตาม รูปแบบห้องสมุดในที่นี้มีความหมายมากกว่า สถานที่เก็บวัสดุต่างๆ ที่มีหลังคา แต่เป็นแนวคิดใหม่ในการบริการ เพราะโลกก้าวเข้าสู่ยุคเครือข่ายดิจิตอล สภาพห้องสมุดที่โดดเดี่ยวโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้งจากนักศึกษาและผู้ใช้ เป็นสถานที่ที่น่ากลัวจะไม่มีอีกต่อไป ในทางตรงกันข้าม ห้องสมุดจะกลายเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างแท้จริง ห้องสมุดประสมจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ: : รูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างทำให้ความต้องการพื้นที่ว่างในการศึกษามีหลากหลายและจัดแบ่งโซนชัดเจน เช่น มีพื้นที่ส่วนตัวที่ต้องการความเงียบ และพื้นที่สำหรับผู้ใช้ที่ทำกิจธุระได้ มีที่นั่งและโต๊ะ และ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้สดชื่น
-การเรียนรู้ต้องมีลักษณะความร่วมมือ : จัดหาสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือ เช่น มีโต๊ะบริการสำหรับศึกษาเป็นกลุ่ม และมีห้องที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีและการนำเสนองาน
-เทคโนโลยีทันสมัยและพัฒนาตลอดเวลา : จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและทำการฝึกอบรมผู้ใช้ซ้ำกับผู้เรียนทั้งห้องเรียน กลุ่มเล็ก และ รายบุคคล
-เข้าถึงแหล่งทรัพยากรบนเครือข่ายที่เป็นสากล : จัดหาระบบเคเบิ้ลเพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น เวิร์คสเตชั่น และจุดที่ใช้โน๊ตบุ๊ค
ลักษณะเด่นของห้องสมุดประสม
การเรียนรู้ในห้องสมุด จะอยู่ในรูปแบบความร่วมมือ ผู้เรียนได้ในสิ่งที่ต้องการและหลากหลาย เทคโนโลยีมีความต่อเนื่องและเข้าถึงสารสนเทศผ่านระบบเครือข่าย มีการจัดวิธีการเข้าถึงหนังสือ บทความวารสาร นอกจากนี้ ห้องสมุดประสม จะรวมถึง
- มีพื้นที่สำหรับการบริการตอบคำถาม ฝึก
-มีพื้นที่สำหรับศึกษาเป็นกลุ่ม อาจจะแยกเป็นห้อง หรือเป็นโซน รวมทั้งมีระบบไอซีทีที่มีประสิทธิภาพ
-มีส่วนที่ให้การช่วยเหลือด้านการฝึก โดยสาธิต แสดง การบริการ และ เทคนิควิธี
การออกแบบที่ทำให้ห้องสมุดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีลักษณะปกปิด เป็นการเปิดสู่โลกภายนอก และเกิดประสิทธิภาพ ทั้งกับผู้ใช้และทรัพยากร คือ
- มีการใช้ผนังกั้นแบ่งภายในน้อยที่สุด
- มีระบบการจัดแบ่งโซนที่ทำกิจกรรมได้หลากหลาย
- มีส่วนที่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
บราวน์ และ แมคโดนัลด์ ได้กล่าวว่า การใช้ พื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพ เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัย จึงต้องมีการบูรณาการระหว่าง การยืดหยุ่น และความสามารถในการใช้งาน ในการวางผังภายนอก เพื่อให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และมีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ สรุปได้ดังนี้
- ความยืดหยุ่น : ความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างภายนอกให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
- การปรับเปลี่ยน : เป็นการจัดการ ที่ว่าง ที่แตกต่างจากรูปแบบทั่วๆไป
แนวคิดของศูนย์การเรียนรู้
แนวคิดใหม่ของอาคารห้องสมุดประสม ได้เริ่มครั้งแรกในอังกฤษ ยุค ศตวรรษที่ 90 มีรายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบในอนาคตของมหาวิทยาลัยและห้องสมุดมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ประกอบกับมหาวิทยาลัยถูกตัดงบประมาณ เงินรายได้มาจาก นักศึกษา จึงถือได้ว่านักศึกษาคือลูกค้าสำคัญที่ต้องได้รับการตอบสนอง ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่สมควรที่จะมีกำหนดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เป็น ศูนย์เรียนรู้ หรือศูนย์สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ โครงการของ จี. บูลพิท ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮาลลาม เมืองเชฟฟีลด์
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่แนวคิดนี้ได้นำเสนอ คือ อาคารห้องสมุดจะถูกกำหนดให้มีรูปแบบการเรียนรู้ เป็น learning style และมีการเปลี่ยนจากลักษณะรายบุคคลมาเป็นกลุ่ม สก็อต เบนเน็ต ได้กล่าวถึง การกลับมา ของห้องสมุดที่เป็นความร่วมมือด้านการเรียนรู้ โดยการนำเสนอ สิ่งที่อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้
แนวคิดของห้องสมุดมหาวิทยาลัย และ การออกแบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบเซ็น
คติพจน์ของมหาวิทยาลัยโบเซ็น คือ เล็ก แต่สวยงาม ยึดการสอนและการเรียนรู้ที่เป็นสากล ห้องสมุดจะต้องบูรณาการคติพจน์ของมหาวิทยาลัยและเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัย ลักษณะของห้องสมุด จะต้องเป็นศูนย์สารสนเทศมัลติมีเดียของมหาวิทยาลัยและภูมิภาค มีนวัตกรรมที่เป็นสากล และเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการศึกษาและเรียนรู้
1. องค์ประกอบหลักของอาคารห้องสมุด
การออกแบบพื้นที่ว่างสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะต้องทำให้ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโบเซ็น ในปี 1998 ได้มีการประกวดผลงานสถาปัตยกรรม ผู้ชนะได้รับรางวัลจากการออกแบบอาคารห้องสมุดในวิทยาเขตใหม่ อาคารนี้ เป็นอาคารสาธารณะ ที่มีลักษณะเปิดกว้างให้กับผู้ใช้ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและในเมือง รูปทรงเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานของมหาวิทยาลัยและเมืองรวมกัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การออกแบบต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเมืองที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่นี้มีอากาศร้อนมากในหน้าร้อน ดังนั้น จึงต้องออกแบบให้แสงผ่านกระจกและโครงสร้าง หลักในการออกแบบของผู้ออกแบบได้กำหนดจุดนี้ไว้เป็นอย่างดี รูปทรงอาคารจะกำหนดให้สอดรับกันเป็นแนวเส้น และมีจุดรวมสายตา คล้ายๆ กับรูปทรงของบ้านโรมัน ภายในจะมีพื้นที่ว่างจำนวนมากอยู่รอบๆ เวทีที่เป็นจุดศูนย์กลางของแสงสว่าง
นอกจากนี้ภายในอาคารเดียวกันนี้ ยังมีศูนย์อาหารสำหรับผู้ใช้ใกล้ๆ ทางเข้าห้องสมุด ในชั้นที่ 1จะเป็น
สำนักงานของนักศึกษา ภายใต้หลังคาที่ลาดลง จะเป็นส่วนของศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา ดังนั้น อาคารห้องสมุดจึงตั้งอยู่ในศูนย์กลางของการให้บริการ นักศึกษาสามารถทำกิจกรรมได้หลายๆอย่าง อาคารห้องสมุดมี 4 ชั้น ซึ่งมีแสงสว่างอย่างพอเพียง ในชั้นหนึ่ง ใต้ศูนย์อาหาร จะมีชั้นสำเร็จที่ไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ (ดังรูปแสดง)
ส่วนพื้นที่ของห้องสมุด มีการออกแบบส่วนของพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ และ ส่วนที่วางชั้นหนังสือ ทั้งชั้นเปิด และชั้นปิด สำหรับหนังสือ 100,000 รายการ ส่วนสำหรับผู้อ่าน ส่วนทางเข้าจะอยู่ติดกับคาเฟทีเรียหรือศูนย์อาหาร ทำให้มีนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่นั่งอ่าน จะอยู่ใกล้กับหน้าต่าง ชั้น 4 จะเป็นส่วนของคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ที่มีบริเวณที่นั่งอ่าน และการทำงานเป็นกลุ่มของผู้ใช้
2. ความหลากหลายของพื้นที่สำหรับทำงานและกิจกรรม
การจัดพื้นที่ในการใช้งานของผู้ใช้นั้น ได้คำนึงถึงสัดส่วนของนักศึกษาทั้งหมดต่อการกำหนดบริเวณในห้องสมุด โดยกำหนดให้มีพื้นที่ ใช้งาน ต่อจำนวนนักศึกษา 12 – 15 คน นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ประมาณ 1,000 คน พื้นที่ในห้องสมุดที่จะให้นักศึกษาเข้าใช้ได้ เต็มที่ 520 ที่นั่ง พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่ พื้นที่แต่ละส่วน ถูกจัดให้ผู้ใช้สามารถผ่านถึงกันและผ่อนคลายอิริยาบถได้
นอกจากนี้ แสงสว่างในห้องสมุด มีความนุ่มนวล และเหมาะสมกับการทำงานของผู้ใช้ในแต่ละจุด
มีการออกแบบระบบแสงสว่างไว้กลมกลืนกับสภาพการใช้งาน นอกจากนี้ การออกแบบยังคำนึงถึงบรรยากาศและความสวยงาม สอดคล้องกับการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ห้องสมุดจะมีสภาพเก็บเสียง ทำให้มีความสงบ
การจัดวางส่วนของเทคโนโลยีก็มีความยืดหยุ่นและขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ของอาคารเช่นกัน ทางห้องสมุดได้จัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ 48 เครื่องให้บริการ เนื่องจากห้องสมุดจะอยู่ติดกับศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดจุดให้บริการแลปทอบ และวางระบบเครือข่ายไว้รองรับผู้ใช้ทั้ง 520 คน ในรูปของเครือข่ายไร้สาย
การจัดวางครุภัณฑ์และอุปกรณ์ของห้องสมุด ออกแบบให้ยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการใช้ ทั้งในส่วนของผู้ใช้และในส่วนของเจ้าหน้าที่ ชั้นหนังสือจะถูกออกแบบให้ใช้งานได้ตามต้องการและปรับเปลี่ยนได้ ครุภัณฑ์ในส่วนทำงานก็เช่นกัน เจ้าหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยไม่เกิดปัญหา
บทสรุปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยโบเซ็นนั้น เป็นการทำตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ และการทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องสมุดจะมีผู้ใช้ตลอดเวลา ทำให้ห้องสมุดมีชีวิต สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ใช้ทุกครั้งที่เข้ามา เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่แท้ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้สะดวกและมีความสบายที่สุด

วันอังคารที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

นิทาน 2 ภาษา

ลูกเป็ดขี้เหร่
Ugly Duckling
ใกล้ ๆ ริมแม่น้ำแห่งหนึ่ง มีแม่เป็ดกำลังกกไข่ห้าฟอง ...เวลาผ่านไป ไข่ฟักเป็นตัวออกมาสี่ฟอง ...ยกเว้นไข่อยู่ฟองหนึง.
Near the river, Mother Duck was incubating five eggs. In due time, four of the eggs except the one egg didn't hatch.ทันใดนั้น! ...
ไข่ฟองสุดท้ายก็ค่อย ๆ ฟักตัวออก.. "คุณพระช่วย ทำไมถึงขี้เหร่อย่างนี้" แต่แม่เป็นก็รับลูกเป็ดขี้เหร่เป็นลูกตัวหนึ่ง
Suddendly, the egg gradually hatched. "Oh my goodness! How ugly it is! B ut mother duck welcomed it into the flock.
วันหนึ่งแม่เป็ดพาลูก ๆ ไปหัดว่ายนี้ ระหว่างทางได้พบกับวัว แพะ และหมู พวกมันพากันหัวเราะเยาะลูกเป็ดขี้เหร่ "ฮ่า ๆๆ พวกเราดูตัวอะไรนั่นซิ น่าเกลียดจริง ๆ" One day Mother Duck took her five ducklings for a swimming lesson in the pond. On the way they came across a cow, a sheep, a pig. They made fun of the ugly Duckling and laughed at him. "Hey! What is that ugly think supposed to be"?
สักครู่หนึ่ง เหล่าลูกเป็ดได้เดินไปพบกับ พ่อไก่และแม่ไก่ "นี่! เคยเห็นตัวอะไรน่าเกลียดอย่างนี้ไหม" พ่อไก่ถามแม่ไก่ In a moment the ducklings walked to come across cock and hen "Hey! Have you ever seen anything so ugly?วันต่อมา ลูกเป็ดขี้เหร่เดินหลงเข้าไปในบ้านของขายทำขนมปัง เมื่อชายทำขนมปังเห็นมันเข้าจึงร้องตะโกนขึ้น "ออกไปให้พ้นเดี๋ยวนี้ เจ้าตัวน่าเกลียด
Next day the ugly Ducking went astray in a baker home. When the baker saw the ugly Ducking he to shut" Go away, you ugly creature."
วันหนึ่ง ลูกเป็ดขี้เหร่เห็นฝูงหงส์กำลังเล่นนี้ในลำธารที่มันอาศัยอยู่ มันตะลึงในความสวยงานของหงส์เหล่านั้นจึงบินตามไปดูใกล้ ๆ One day the ugly Duckling saw a flock of swans swimming below. He was so amazed by their beauty that he decided to fly closer to the stream.
ลูกเป็ดขี้เหร่มองเงาของตนเอง ที่ปรากฏในน้ำ เป็นเงาของหงษ์ที่สง่างาม ที่แท้จริงมันไม่ใช่เป็ด มันเป็นหงส์ ในที่สุดมันก็ได้พบกับพ่อแม่ที่แท้จริงและอาศัยอยู่ที่ลำรแห่งนั้นอย่างมีความสุข The ugly Duckling saw his shadow in the water it was the reflection of a graceful swan. In fact he had never been an ugly Duckling but it was swan. Finally it was able to find the real parents, and they lived happily ever after in the stream.
จาก นิทาน 2 ภาษาอ่านให้เด็กฟัง (1) ค้นเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2552 จาก www.bloggang.com/mainblog.php?id=alwaysandforever&month=08-11-2007&group=1&gblog=114

วันพฤหัสบดีที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

แนวข้อสอบปลายภาค

1. ส่วนประกอบหลักของรายงาน มีอะไรบ้าง
ก. ส่วนนำ ส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนอ้างอิง ข. ปกนอก ปกใน คำนำ สารบัญ
ค. ปก คำนำ สารบัญ บรรณานุกรม ง. บทนำ เนื้อเรื่อง บทสรุป
2. ในการเขียน ปกนอก สิ่งสำคัญที่สุด ที่ต้องมี คืออะไร
ก. ชื่อครูผู้สอน ข. ชื่อรายงาน ค. ชื่อวิชา ง. ชื่อปีการศึกษา
3. หน้าใดของรายงาน ที่บอกวัตถุประสงค์ของการจัดทำ
ก. สารบัญ ข. ปกใน ค. คำนำ ง. เนื้อเรื่อง
4. ส่วนที่เป็นหลักฐาน และทำให้รายงานน่าเชื่อถือ คือส่วนใด
ก. เนื้อเรื่อง ข. บรรณานุกรม ค. สารบัญ ง. คำนำ
5. การอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่องที่เป็นระบบ นาม-ปี จะต้องระบุอะไรบ้าง
ก. ชื่อหนังสือ และชื่อผู้แต่ง ข. ชื่อผู้แต่ง และเลขหน้า ค. ชื่อผู้แต่ง และ ปีพิมพ์ ง. ชื่อหนังสือและ เลขหน้า
6. ในส่วนเนื้อเรื่อง นอกจาก เขียนข้อมูลที่ค้นคว้ามาได้แล้ว ผู้เขียนควรเขียนส่วนใดเพิ่มอีก
ก. คำนำ ข. หัวข้อเรื่อง ค. บทนำและบทสรุป ง. บรรณานุกรม
7. ส่วนประกอบในรายงานข้อใด เป็นส่วนอ้างอิง
ก. คำนำ ข. สารบัญ ค. ภาพประกอบ ง. บรรณานุกรม
8. ข้อมูล ...... “ในวังน้ำเขียว มี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น แปลงดอกเบญจมาศ อำเภอไทยสามัคคี และแหล่งท่องเที่ยว
ธรรมชาติ เช่น อุทยานเขาแผงม้า”
“ค้นข้อมูลจาก บทความออนไลน์ชื่อ วังน้ำเขียว ออนไลน์เมื่อปี พ.ศ. 2549 ค้นข้อมูลเมื่อ 29 มกราคม 2550 จาก
http://www.wnk.go.th/planning.php.%20ค้นเมื่อ%2029%20ม.ค.%202550
จาก ข้อมูล และแหล่งที่มา ข้อใด เขียนอ้างอิงแทรกในเนื้อเรื่อง ได้ถูกต้อง
ก. “ในวังน้ำเขียว มี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น แปลงดอกเบญจมาศ อำเภอไทยสามัคคี และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
เช่น อุทยานเขาแผงม้า” (วังน้ำเขียว, 2549)
ข. “ในวังน้ำเขียว มี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น แปลงดอกเบญจมาศ อำเภอไทยสามัคคี และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
เช่น อุทยานเขาแผงม้า” (www.wnk.go.th/planning.php. , 2549)
ค. “ในวังน้ำเขียว มี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น แปลงดอก เบญจมาศ อำเภอไทยสามัคคี และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
เช่น อุทยานเขาแผงม้า” (วังน้ำเขียว : http://www.wnk.go.th/planning.php.%20ค้นเมื่อ%2029%20ม.ค.%202550)
ง. “ในวังน้ำเขียว มี แหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตร เช่น แปลงดอกเบญจมาศ อำเภอไทยสามัคคี และแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติ
เช่น อุทยานเขาแผงม้า” (http://www.wnk.go.th/planning.php.%20%2029%20มกราคม%202550)
9. การเรียบเรียง เนื้อเรื่องจากบัตรบันทึก ในข้อใด ถูกต้อง
ก. เรียบเรียงตามบัตรบันทึก โดยใช้คำสำคัญ ขึ้นก่อน ต่อด้วยแหล่งที่มา และ เนื้อเรื่อง
ข. นำคำสำคัญเป็นหัวข้อเรื่อง เรียบเรียงเนื้อเรื่อง และอ้างอิงแหล่งที่มาทั้งหมดปิดท้าย
ค. เรียบเรียงเนื้อเรื่อง และ อ้างอิงแหล่งที่มาปิดท้าย
ง. นำคำสำคัญเป็นหัวข้อเรื่อง เรียบเรียงเนื้อเรื่อง และอ้างอิงแหล่งที่มาเฉพาะผู้แต่ง และปีพิมพ์
10. ในส่วนของเนื้อเรื่อง ส่วนใด ที่เป็นการกล่าวความเป็นมา
ก. เนื้อเรื่องหัวข้อแรก
ข. บทนำ
ค. คำนำ
ง. ความนำ

วันอังคารที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2552

บรรณานุกรม

หลักการเขียนบรรณานุกรม
หนังสือ
ผู้แต่ง. (ปี พ.ศ). ที่พิมพ์. ชื่อหนังสือ. เมือง : สำนักพิมพ์.
ตัวอย่าง. หนังสือ ชื่อ สี่แผ่นดิน แต่งโดย ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช. สำนักพิมพ์ สยามรัฐ ปีพิมพ์ 2510.
บรรณานุกรม : คึกฤทธิ์ ปราโมช, ม.ร.ว. (2510). สี่แผ่นดิน. กรุงเทพฯ : สยามรัฐ.
ปารัณ. (2549). .วังน้ำเขียว อีสานคลาสสิค. แพรว. กรุงเทพฯ : อมรินทร์.
เว็บไซต์.
ชื่อผู้แต่ง. (ถ้ามี) (ปีที่เผยแพร่). ชื่อบทความ. ค้นข้อมูลเมื่อ......จาก www.........
ตัวอย่าง การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2551). นครปฐม. ค้นข้อมูลเมื่อ 1 มกราคม 2552 จาก www.tat.or.th.
วังน้ำเขียว. (2549). ค้นข้อมูลเมื่อ 29 มกราคม 2550 จาก www.wnk.go.th/planning.php.
วารสาร
ชื่อผู้แต่ง. (ปี พ.ศ). "ชื่อบทความ. ชื่อวารสาร. ปีที่พิมพ์ ฉบับที่พิมพ์ (เดือน), หน้า....
ตัวอย่าง
บุรณี บรรณากร. (2533). ราชินีแห่งดอกไม้. ข่าวการไฟฟ้า. 34 : 5 (พฤษภาคม) : 50-51.
ในกรณีที่ ไม่มีชื่อผู้แต่ง ชื่อบทความ (วารสาร, เว็บไซต์) ชื่อหนังสือ (หนังสือ) จะต้องอยู่ในลำดับแรก ตามด้วย ปีพิมพ์/ปีที่เผยแพร่ ถ้าไม่มีปี พ.ศ. ให้ใช้คำว่า ม.ป.ป. ส่วนปีที่ หมายถึง ปีที่วารสารฉบับนั้นจัดทำใ ไม่ใช่ปี พ.ศ.
บรรณานุกรม จะต้องเรียงลำดับตามตัวอักษรแรก ของแต่ละรายการ
ตัวอย่าง
บรรณานุกรม
ชมรมธรรมชาติศึกษา. (2540). กุหลาบ : ราชินีแห่งดอกไม้.
เชียงใหม่ : ชมรมธรรมชาติศึกษา
บุรณี บรรณากร. (2533). ราชินีแห่งดอกไม้ ข่าวการไฟฟ้า.
34 : 5 (พฤษภาคม) : 50-51
มงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, พระบาทสมเด็จพระ. (2503). บทละครพูดคำ
ฉันท์ : มัธนพาทา. พระนคร : โรงพิมพ์คุรุสภา
Crystal, Rolley.(1999).The meaning of roses. Imagination
20 : 2 (Febuary) : 25-34
Dickinson, Melwin & Compwell, Rossary. (1999). The Book
of Roses. พิมพ์ครั้งที่2. London: Macdonald&Jane.
Queen of Flowers. (2001). ค้นข้อมูลเมื่อ 22 เมษายน 2000
จาก http://www.geocities.com/rose_msu/page7.html
จะเห็นว่า ภาษาไทย จะเรียงลำดับ ช ช้าง ตามด้วบ บ ใบไม้ และ ม ม้า ซึ่งเป็นอักษรตัวแรกของชื่อผู้แต่ง. ส่วนภาษาอังกฤษ เรียงตามลำดับอักษรชื่อภาษาอังกฤษ