Working places, furniture and technology: Strategies of flexibility of university library buildings - the case of Bozen/Bolzano
Klaus Kempf
"Flexibility" as the basic principle of modern library buildings
นานนับศตวรรษที่ ห้องสมุดคือแหล่งรวบรวมข้อมูลสารสนเทศ ห้องสมุดถูกออกแบบมาให้เป็นที่เก็บทรัพยากรสารสนเทศเพื่อส่งเสริมการอ่าน 20 ปีที่ผ่านมา เทคโนโลยีที่ทันสมัย ทำให้เกิดแนวคิดห้องสมุดเสมือนขึ้น เป็นห้องสมุดที่ไม่ต้องการอาคารแต่ผู้ใช้สามารถเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศผ่านเครือข่ายเทคโนโลยีสารสนเทศ แต่ ในปัจจุบัน ได้เกิดแนวคิดใหม่ตามบริบทของห้องสมุด ถือว่า อาคารห้องสมุดยังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญอย่างหนึ่ง แต่มีความยืดหยุ่น ปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมไปตามยุคสมัย
เกอร์ฮาร์ด เลียเบอร์ หัวหน้าอาคารห้องสมุดในเยอรมนี ได้ศึกษาดูงานในสหรัฐอเมริกา จากประสบการณ์ทำให้เขารับรู้ถึง นิยาม ของ “ยืดหยุ่น” เสน่ห์ของการก่อสร้างห้องสมุดสมัยใหม่ในเยอรมนี ตั้งแต่ยังคงไม่มีการก่อสร้างแบบโมดูลล่า จนหลายปีต่อมา การปรับเปลี่ยนรูปแบบห้องสมุดให้มีความยืดหยุ่นตอบสนองความต้องการของผู้ใช้ เป็นสิ่งสำคัญในการออกแบบ อาคารห้องสมุดสมัยใหม่
“ยืดหยุ่น” กับยุคห้องสมุดประสม
ช่วงการปรับเปลี่ยนในห้องสมุด การออกแบบ จะต้องกำหนดความต้องการในการจัดวางวัสดุสิ่งพิมพ์และวัสดุดิจิตอลเข้าไปด้วย แนวคิดเกี่ยวกับการจัดห้องสมุดได้เปลี่ยนไปเป็นห้องสมุดประสม (ห้องสมุดสื่อประสม , น้ำทิพย์ วิภาวิน) อย่างไรก็ตาม รูปแบบห้องสมุดในที่นี้มีความหมายมากกว่า สถานที่เก็บวัสดุต่างๆ ที่มีหลังคา แต่เป็นแนวคิดใหม่ในการบริการ เพราะโลกก้าวเข้าสู่ยุคเครือข่ายดิจิตอล สภาพห้องสมุดที่โดดเดี่ยวโดดเดี่ยว ถูกทอดทิ้งจากนักศึกษาและผู้ใช้ เป็นสถานที่ที่น่ากลัวจะไม่มีอีกต่อไป ในทางตรงกันข้าม ห้องสมุดจะกลายเป็นสถานที่ที่เป็นแหล่งเรียนรู้อย่างแท้จริง ห้องสมุดประสมจะต้องมีลักษณะดังต่อไปนี้
- ผู้ใช้สามารถเลือกใช้งานได้ตามความต้องการ: : รูปแบบการเรียนรู้ที่แตกต่างทำให้ความต้องการพื้นที่ว่างในการศึกษามีหลากหลายและจัดแบ่งโซนชัดเจน เช่น มีพื้นที่ส่วนตัวที่ต้องการความเงียบ และพื้นที่สำหรับผู้ใช้ที่ทำกิจธุระได้ มีที่นั่งและโต๊ะ และ สิ่งอำนวยความสะดวกที่ทำให้สดชื่น
-การเรียนรู้ต้องมีลักษณะความร่วมมือ : จัดหาสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างการเรียนรู้แบบร่วมมือ เช่น มีโต๊ะบริการสำหรับศึกษาเป็นกลุ่ม และมีห้องที่มีอุปกรณ์เทคโนโลยีและการนำเสนองาน
-เทคโนโลยีทันสมัยและพัฒนาตลอดเวลา : จัดหาสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการฝึกอบรมอย่างต่อเนื่องและทำการฝึกอบรมผู้ใช้ซ้ำกับผู้เรียนทั้งห้องเรียน กลุ่มเล็ก และ รายบุคคล
-เข้าถึงแหล่งทรัพยากรบนเครือข่ายที่เป็นสากล : จัดหาระบบเคเบิ้ลเพื่อติดตั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็น เวิร์คสเตชั่น และจุดที่ใช้โน๊ตบุ๊ค
ลักษณะเด่นของห้องสมุดประสม
การเรียนรู้ในห้องสมุด จะอยู่ในรูปแบบความร่วมมือ ผู้เรียนได้ในสิ่งที่ต้องการและหลากหลาย เทคโนโลยีมีความต่อเนื่องและเข้าถึงสารสนเทศผ่านระบบเครือข่าย มีการจัดวิธีการเข้าถึงหนังสือ บทความวารสาร นอกจากนี้ ห้องสมุดประสม จะรวมถึง
- มีพื้นที่สำหรับการบริการตอบคำถาม ฝึก
-มีพื้นที่สำหรับศึกษาเป็นกลุ่ม อาจจะแยกเป็นห้อง หรือเป็นโซน รวมทั้งมีระบบไอซีทีที่มีประสิทธิภาพ
-มีส่วนที่ให้การช่วยเหลือด้านการฝึก โดยสาธิต แสดง การบริการ และ เทคนิควิธี
การออกแบบที่ทำให้ห้องสมุดเปลี่ยนแปลงจากเดิมที่มีลักษณะปกปิด เป็นการเปิดสู่โลกภายนอก และเกิดประสิทธิภาพ ทั้งกับผู้ใช้และทรัพยากร คือ
- มีการใช้ผนังกั้นแบ่งภายในน้อยที่สุด
- มีระบบการจัดแบ่งโซนที่ทำกิจกรรมได้หลากหลาย
- มีส่วนที่เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
บราวน์ และ แมคโดนัลด์ ได้กล่าวว่า การใช้ พื้นที่ให้มีความยืดหยุ่นและปรับเปลี่ยนได้ตามสภาพ เป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นห้องสมุดมหาวิทยาลัย จึงต้องมีการบูรณาการระหว่าง การยืดหยุ่น และความสามารถในการใช้งาน ในการวางผังภายนอก เพื่อให้ตรงความต้องการของผู้ใช้ และมีความเป็นมิตรต่อผู้ใช้ สรุปได้ดังนี้
- ความยืดหยุ่น : ความสามารถในการเปลี่ยนรูปร่างภายนอกให้ตรงตามความต้องการของผู้ใช้
- การปรับเปลี่ยน : เป็นการจัดการ ที่ว่าง ที่แตกต่างจากรูปแบบทั่วๆไป
แนวคิดของศูนย์การเรียนรู้
แนวคิดใหม่ของอาคารห้องสมุดประสม ได้เริ่มครั้งแรกในอังกฤษ ยุค ศตวรรษที่ 90 มีรายงานการวิจัยที่ศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบในอนาคตของมหาวิทยาลัยและห้องสมุดมหาวิทยาลัยในอังกฤษ ทำให้เกิดแนวคิดใหม่ของห้องสมุดมหาวิทยาลัย ประกอบกับมหาวิทยาลัยถูกตัดงบประมาณ เงินรายได้มาจาก นักศึกษา จึงถือได้ว่านักศึกษาคือลูกค้าสำคัญที่ต้องได้รับการตอบสนอง ดังนั้นจึงเป็นช่วงเวลาที่สมควรที่จะมีกำหนดแนวคิดใหม่เกี่ยวกับห้องสมุดมหาวิทยาลัยที่เป็น ศูนย์เรียนรู้ หรือศูนย์สารสนเทศเพื่อการเรียนรู้ ตัวอย่างที่เด่นชัดคือ โครงการของ จี. บูลพิท ในห้องสมุดมหาวิทยาลัยฮาลลาม เมืองเชฟฟีลด์
สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่งที่แนวคิดนี้ได้นำเสนอ คือ อาคารห้องสมุดจะถูกกำหนดให้มีรูปแบบการเรียนรู้ เป็น learning style และมีการเปลี่ยนจากลักษณะรายบุคคลมาเป็นกลุ่ม สก็อต เบนเน็ต ได้กล่าวถึง การกลับมา ของห้องสมุดที่เป็นความร่วมมือด้านการเรียนรู้ โดยการนำเสนอ สิ่งที่อำนวยความสะดวกเพื่อการเรียนรู้
แนวคิดของห้องสมุดมหาวิทยาลัย และ การออกแบบห้องสมุดมหาวิทยาลัยโบเซ็น
คติพจน์ของมหาวิทยาลัยโบเซ็น คือ เล็ก แต่สวยงาม ยึดการสอนและการเรียนรู้ที่เป็นสากล ห้องสมุดจะต้องบูรณาการคติพจน์ของมหาวิทยาลัยและเป็นหัวใจของมหาวิทยาลัย ลักษณะของห้องสมุด จะต้องเป็นศูนย์สารสนเทศมัลติมีเดียของมหาวิทยาลัยและภูมิภาค มีนวัตกรรมที่เป็นสากล และเป็นสถานที่ที่เหมาะกับการศึกษาและเรียนรู้
1. องค์ประกอบหลักของอาคารห้องสมุด
การออกแบบพื้นที่ว่างสำหรับห้องสมุดมหาวิทยาลัยจะต้องทำให้ห้องสมุดเป็นส่วนหนึ่งของมหาวิทยาลัยที่สัมพันธ์กับศูนย์กลางทางประวัติศาสตร์ของมหาวิทยาลัยโบเซ็น ในปี 1998 ได้มีการประกวดผลงานสถาปัตยกรรม ผู้ชนะได้รับรางวัลจากการออกแบบอาคารห้องสมุดในวิทยาเขตใหม่ อาคารนี้ เป็นอาคารสาธารณะ ที่มีลักษณะเปิดกว้างให้กับผู้ใช้ทั้งภายในมหาวิทยาลัยและในเมือง รูปทรงเป็นเสมือนอนุสรณ์สถานของมหาวิทยาลัยและเมืองรวมกัน ซึ่งมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว การออกแบบต้องคำนึงถึงสภาพภูมิอากาศ เนื่องจากเมืองที่มหาวิทยาลัยตั้งอยู่นี้มีอากาศร้อนมากในหน้าร้อน ดังนั้น จึงต้องออกแบบให้แสงผ่านกระจกและโครงสร้าง หลักในการออกแบบของผู้ออกแบบได้กำหนดจุดนี้ไว้เป็นอย่างดี รูปทรงอาคารจะกำหนดให้สอดรับกันเป็นแนวเส้น และมีจุดรวมสายตา คล้ายๆ กับรูปทรงของบ้านโรมัน ภายในจะมีพื้นที่ว่างจำนวนมากอยู่รอบๆ เวทีที่เป็นจุดศูนย์กลางของแสงสว่าง
นอกจากนี้ภายในอาคารเดียวกันนี้ ยังมีศูนย์อาหารสำหรับผู้ใช้ใกล้ๆ ทางเข้าห้องสมุด ในชั้นที่ 1จะเป็น
สำนักงานของนักศึกษา ภายใต้หลังคาที่ลาดลง จะเป็นส่วนของศูนย์คอมพิวเตอร์และศูนย์ภาษา ดังนั้น อาคารห้องสมุดจึงตั้งอยู่ในศูนย์กลางของการให้บริการ นักศึกษาสามารถทำกิจกรรมได้หลายๆอย่าง อาคารห้องสมุดมี 4 ชั้น ซึ่งมีแสงสว่างอย่างพอเพียง ในชั้นหนึ่ง ใต้ศูนย์อาหาร จะมีชั้นสำเร็จที่ไม่ให้ผู้ใช้เข้าถึงได้ (ดังรูปแสดง)
ส่วนพื้นที่ของห้องสมุด มีการออกแบบส่วนของพื้นที่ของเจ้าหน้าที่ และ ส่วนที่วางชั้นหนังสือ ทั้งชั้นเปิด และชั้นปิด สำหรับหนังสือ 100,000 รายการ ส่วนสำหรับผู้อ่าน ส่วนทางเข้าจะอยู่ติดกับคาเฟทีเรียหรือศูนย์อาหาร ทำให้มีนักศึกษาอยู่ตลอดเวลา ส่วนที่นั่งอ่าน จะอยู่ใกล้กับหน้าต่าง ชั้น 4 จะเป็นส่วนของคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่าย ที่มีบริเวณที่นั่งอ่าน และการทำงานเป็นกลุ่มของผู้ใช้
2. ความหลากหลายของพื้นที่สำหรับทำงานและกิจกรรม
การจัดพื้นที่ในการใช้งานของผู้ใช้นั้น ได้คำนึงถึงสัดส่วนของนักศึกษาทั้งหมดต่อการกำหนดบริเวณในห้องสมุด โดยกำหนดให้มีพื้นที่ ใช้งาน ต่อจำนวนนักศึกษา 12 – 15 คน นักศึกษาในมหาวิทยาลัย ประมาณ 1,000 คน พื้นที่ในห้องสมุดที่จะให้นักศึกษาเข้าใช้ได้ เต็มที่ 520 ที่นั่ง พื้นที่ส่วนหนึ่งจัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์และระบบเครือข่ายที่ พื้นที่แต่ละส่วน ถูกจัดให้ผู้ใช้สามารถผ่านถึงกันและผ่อนคลายอิริยาบถได้
นอกจากนี้ แสงสว่างในห้องสมุด มีความนุ่มนวล และเหมาะสมกับการทำงานของผู้ใช้ในแต่ละจุด
มีการออกแบบระบบแสงสว่างไว้กลมกลืนกับสภาพการใช้งาน นอกจากนี้ การออกแบบยังคำนึงถึงบรรยากาศและความสวยงาม สอดคล้องกับการจัดวางเฟอร์นิเจอร์ ห้องสมุดจะมีสภาพเก็บเสียง ทำให้มีความสงบ
การจัดวางส่วนของเทคโนโลยีก็มีความยืดหยุ่นและขึ้นกับองค์ประกอบอื่นๆ ของอาคารเช่นกัน ทางห้องสมุดได้จัดวางเครื่องคอมพิวเตอร์ 48 เครื่องให้บริการ เนื่องจากห้องสมุดจะอยู่ติดกับศูนย์คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถใช้ได้ นอกจากนี้ ยังได้จัดจุดให้บริการแลปทอบ และวางระบบเครือข่ายไว้รองรับผู้ใช้ทั้ง 520 คน ในรูปของเครือข่ายไร้สาย
การจัดวางครุภัณฑ์และอุปกรณ์ของห้องสมุด ออกแบบให้ยืดหยุ่นและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามการใช้ ทั้งในส่วนของผู้ใช้และในส่วนของเจ้าหน้าที่ ชั้นหนังสือจะถูกออกแบบให้ใช้งานได้ตามต้องการและปรับเปลี่ยนได้ ครุภัณฑ์ในส่วนทำงานก็เช่นกัน เจ้าหน้าที่สามารถปรับเปลี่ยนได้โดยไม่เกิดปัญหา
บทสรุปห้องสมุดของมหาวิทยาลัยโบเซ็นนั้น เป็นการทำตามสิ่งที่ได้ออกแบบไว้ เพื่อตอบสนองการใช้งานของผู้ใช้ และการทำงานของเจ้าหน้าที่ ห้องสมุดจะมีผู้ใช้ตลอดเวลา ทำให้ห้องสมุดมีชีวิต สร้างแรงบันดาลใจแก่ผู้ใช้ทุกครั้งที่เข้ามา เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ที่แท้ ที่ทำให้ผู้ใช้สามารถใช้ได้สะดวกและมีความสบายที่สุด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น