วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

รายงานการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ โดยชุดการสอนสำหรับครู รายวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ

รายงานการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ โดยชุดการสอนสำหรับครู รายวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
ของนางนาถระพินทร์ เบ็ญจวงค์
รายงานการใช้นวัตกรรมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการศึกษา (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดการสอนสำหรับครู รายวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนสำหรับครู กลุ่มเป้าหมาย เป็นนักศึกษาระดับ ปวส. 1 วิทยาลัยเทคนิคนครปฐม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2550 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ (1) ชุดการสอนสำหรับครู เพื่อพัฒนาทักษะการรู้สารสนเทศ รายวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ จำนวน 5ชุด ประกอบด้วย ชุดการสอนที่ 1 เรื่อง ทักษะการจำแนก/การกำหนดความต้องการและการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ชุดการสอนที่ 2 เรื่อง ทักษะการกำหนดความต้องการและทักษะการคิดวิเคราะห์ ชุดการสอนที่ 3 เรื่อง ทักษะการสืบค้นและการกำหนดคำค้น ชุดการสอนที่ 4 เรื่อง ทักษะการวิเคราะห์สารสนเทศ และทักษะการอ่าน ชุดที่ 5 เรื่องทักษะในการสังเคราะห์สารสนเทศและทักษะการเขียน (2) แบบประเมินชุดการสอนสำหรับครู โดยมีการประเมินใน 4 ด้าน คือ จุดประสงค์การเรียนรู้ ด้านเนื้อหา ด้านกิจกรรมการสอน และด้านสื่อการเรียนการสอน (3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก ที่ผ่านการหาความเชื่อมั่นโดยใช้สูตร KR- 20 ของคูเดอร์ - ริชาร์ดสัน (4) แบบประเมินความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนสำหรับครูของนักศึกษาระดับ ปวส. ปีที่ 1 รายวิชาห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ โดยใช้แบบประเมินมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับตามแนวของลิเคิร์ท วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ (1) ค่าร้อยละ (Percentage) (2) ค่าเฉลี่ย ( Arithmetic mean) (3) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) (4) ทดสอบความแตกต่างของคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ค่า t (Dependent Samples) ผลการศีกษาพบว่า ชุดการสอนสำหรับครูที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 81.13/80.14 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ประสิทธิภาพที่กำหนดไว้ คือ 75/75 จึงยอมรับว่าชุดการสอนที่ผลิตขึ้นมีประสิทธิภาพ ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของนักศึกษาสูงกว่าระหว่างก่อนเรียน และความพึงพอใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดการสอนสำหรับครู ของนักเรียน นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ทั้ง 5 รายการประเมินผล

ไม่มีความคิดเห็น: