วันอาทิตย์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2551

peer group คืออะไร

การศึกษาแบบ Peer group คืออะไร
Peer group เป็นรูปแบบหนึ่งของการเรียนที่อาศัยการร่วมและการแบ่งปันกันในกลุ่มสมาชิก ตามลักษณะของกลุ่ม เช่น แบ่งตามอายุ หรือ แบ่งตามหลักคุณธรรม โดยปกติแล้วจะแบ่งตามอายุ โดยเฉพาะในช่วงวัยที่เป็นผู้ใหญ่และมีความใกล้ชิดกัน กลุ่มเพื่อน นี้ มีลักษณะ
1. มีระดับ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ทางสังคมสูง 2. มี รูปแบบการทำงานตามลำดับขั้นขององค์กร 3. มีความแตกต่างกันด้านประสบการณ์ ผลที่ได้จากการร่วมมือกันคือรางวัลที่กลุ่มจะได้รับ
Peer group เป็นรูปแบบของการถ่ายทอดข้อมูลหรือแบบของบทบาทซึ่งเป็นพฤติกรรมหรือข้อมูลที่ต้องการให้เกิด กลุ่มเป้าหมายใน รูปแบบ peer ได้แก่ กลุ่มที่มีลักษณะเดียวกัน เช่น เพศ อายุ เป็นต้น ในที่นี้ จะนับเฉพาะกลุ่มอายุ 14-20 ปี ซึ่งเป็นกลุ่มที่ได้ผลที่สุด

การศึกษาแบบ peer group ทำให้ผู้เรียนเป็นนักการศึกษา
ผู้เรียน โดยมากมักจะประสบปัญหาทางสังคม ถ้าทำให้ผู้เรียนมีจุดมุ่งหมายที่สามารถสร้างสรรค์รูปแบบการเรียนได้ด้วยตนเอง แล้ว คุณภาพที่เกิดจะเป็นสิ่งที่เป็นเสมือนภารกิจ ที่ออกมาจากใจ และอยู่ในอุดมคติ
รูปแบบการเรียนแบบ peer group จะมีลักษณะที่ทำให้ผู้เรียนผูกพันกับปัญหาที่มีผลต่อตัวผู้เรียน กระบวนการเรียนรู้ จะเป็นส่วนหนึ่งของสังคม เป็นตัวสร้างเรื่องราวสำหรับผู้เรียนให้ค้นพบสิ่งใหม่ๆ ช่วยกันแก้ปัญหา และทำให้เกิดความเข้าใจจุดมุ่งหมายร่วมกัน เพื่อนในกลุ่มเดียวกัน จะมีความเข้าใจความต้องการ ในเสรีภาพและพัฒนาการของกันและกัน และมีความรับผิดชอบ ซึ่งมีอิทธิพลต่อการกำหนดพฤติกรรมและมีคุณค่าต่อเพื่อน ทำให้เกิดสถานการณ์ที่พิเศษ การศึกษาแบบ peer group มีมาตั้งแต่สมัยอริสโตเติ้ล ศตวรรษที่ 18 และได้รับความนิยมมากในยุโรป ส่วนมากจะได้ประโยชน์กับการใช้ในกลุ่มเด็กและวัยรุ่น ในการเรียนรู้ ทั้งในและนอกระบบ เป็นการช่วยให้เด็กรู้จักการช่วยเหลือตนด้วยตนเอง

เป้าหมายของการใช้กลุ่มเพื่อนช่วยเพื่อน
1. ด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผู้เรียนเป็นผู้มีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เรียนอย่างถ่องแท้ มีมุมมองใหม่ๆ เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ
2. ด้านการติดต่อสื่อสาร มีการสื่อสารกันตามบทบาทหน้าที่ของผู้เรียนแต่ละคนในกุล่ม ทั้งนี้ตามรูปแบบการปฏิบัติงานกลุ่ม เกม ดนตรี และ สื่อการสอน การอภิปรายและการเล่าเรื่อง
3. ทำให้เพิ่มประสิทธิผล จากแหล่งเรียนรู้
4. เพิ่มอำนาจแก่ผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนสามารถควบคุมกระบวนการเรียนรู้ และขึ้นอยู่กับตัวผู้เรียนที่จะทำให้การเรียนดำเนินไปอย่างไร ทำให้เกิดการมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ และผู้เรียนทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
การศึกษาแบบเพื่อนช่วยเพื่อน ทำให้เกิดความเท่าเทียมกันในกลุ่ม ดังนี้
1. กลุ่มเพื่อนจะช่วยสร้างความมั่นใจ กล้าที่จะเผชิญกับปัญหาใหม่ เพราะมีความคุ้นเคยในกลุ่ม
2. เพื่อนแต่ละคนในกลุ่มได้เรียนรู้กันและกัน รู้จักข้อดีข้อด้อยของตนจากการแลกเปลี่ยนประสบการณ์
3. สร้างอำนาจและความเป็นผู้นำในกลุ่ม
4.แบ่งปันความรู้สึกร่วมกันในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลง
5. กลุ่มเพื่อนจะทำให้แต่ละคนเห็นคุณค่าของกันและกัน
6. กลุ่มใหญ่มองเห็นปัญหาในภาพรวม จากปัญหาย่อยๆ ในแต่ละกลุ่ม ทำให้เกิดการแก้ปัญหาร่วมกัน อันจะนำไปสู่ความสำเร็จ
7. กลุ่มเพื่อนจะรักษาต้นแบบให้คงอยู่อย่างสมบูรณ์
8. กลุ่มเพื่อนจะกระตุ้นให้นำสิ่งที่เรียนรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงได้
9. กลุ่มเพื่อนจะสามารถสร้างความมั่นใจให้กับวัยรุ่นจนกล้าท้าทายปัญหาของตนได้ทุกรูปแบบ
10 กลุ่มเพื่อนจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นในกลุ่ม
ค้นจาก Domino. (online) “section 2 what is peer group education & section 3
why use peer group education for the campaign difference – all equal”. Retrieved June 26, 2551 from http://www.eycb.coe.int/domino/02.html

1 ความคิดเห็น:

Unknown กล่าวว่า...

ขอบคุณที่ได้เรียนรู้ครับ มีประโยชน์มาก