ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างขึ้นเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญมาก อาร์คีมิดิสและยูคลิดใช้บริการของห้องสมุดนี้ ในสมัยนั้น ศูนย์กลางการศึกษาคณิตศาสตร์เคยอยู่กับพิธากอรัส แต่สองศตวรรษหลังจากพิธากอรัสเสียชีวิตลง ศูนย์การเรียนเลขได้ย้ายไป อยู่ที่อเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ได้ชัยชนะเหนือกรีก เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ได้สร้างเมืองหลวงที่ทรงตั้งพระทัยให้เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยม ที่สุดในโลก เมื่อราชวงศ์พโทเลมีขึ้นครองอียิปต์ อเล็กซานเดรียก็ได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหล มาสู่เมืองนี้จากชื่อเสียงของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดนี้ตั้งขึ้นจากแนวคิดของ Demetrius Phalaerus ที่ โน้มน้าวให้พโทเลมีรวบรวมหนังสือดี ๆ โดยบอกว่าคนเก่งกาจจะตามมาเอง จึงได้มีการรวบรวมหนังสือจากทั่วอียิปต์ กรีก เอเชียไมเนอร์ และยุโรป ความพยายามในการหาหนังสือนั้นเข้มข้น ชนิดที่ว่านักท่องเที่ยวที่เข้าอเล็กซานเดรียทุกคนจะถูกริบหนังสือ โดยหนังสือนั้นจะถูกนำไปคัดลอก (โดยการเขียนด้วยมือ) แต่ห้องสมุดจะขอเก็บต้นฉบับไว ้และ คืนฉบับคัดลอกให้เจ้าของ ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือถึงหกแสนเล่มในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้กันว่านักคณิตศาสตร์สามารถหาความรู้ ทุกอย่าง ในโลกได้โดยการมาที่ห้องสมุดนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียถูกทำลายหลายครั้ง ตั้งแต่ 47 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อจูเลียส ซีซาร์โจมตีคลีโอพัตราด้วยการเผาท่าเรืออเล็กซานเดรีย ห้องสมุดตั้งอยู่ติดกับท่าเรือจึงพลอยถูกเผาไปด้วย หนังสือนับแสนเล่มถูกทำลาย แต่คลีโอพัตราตั้งพระทัยมั่น จะบูรณะห้องสมุดให้กลับคืนมาดีเหมือนเดิม มาร์ก แอนโทนีจึงยกทัพไปตีเมือง Pergamum ที่มีหนังสือดี และขนหนังสือทั้งหมดกลับอียิปต์ ปัจจุบันห้องสมุดนี้สร้างในที่ๆ ห้องสมุดเคยตั้งและถูกเผาในศตวรรษที่สี่ โดยใช้เวลาการสร้างใหม่ 12 ปี ด้วยเงินทุน 220 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความร่วมมือขององค์การยูเนสโก ประกอบด้วย อาคาร 3 หลัง ได้แก่ ส่วนของอาคารหอสมุด ศูนย์การประชุม ท้องฟ้าจำลอง แต่ละหลังเชื่อมกันด้วยทางเดินใต้ดิน
อาคารหลักของห้องสมุดมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามยิ่ง เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์กำลังขึ้น ประชันกับเชิงชั้นแห่งความรู้ หลังคาเป็นชั้นๆ ลาดลงมา เปรียบเสมือนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ เป็นสัญญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ชิฟที่ทันสมัย ตัวอาคารตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ศูนย์กลางของเมืองอเล็กซานเดรีย ทำให้ห้องสมุดอเล็กซานเดรียเป็นยิ่งกว่าห้องสมุด เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การพบปะเจรจา ศูนย์กลางแห่งความสมานฉันท์ รายละเอียดของห้องสมุด ประกอบด้วย
1. หอสมุด ที่มีหนังสือหลายล้านเล่ม
2. เป็นศูนย์อินเตอร์เน็ต จดหมายเหตุ และอื่นๆ
3. ห้องสมุดเฉพาะ 6 ห้องสมุด คือ (1) ศิลปกรรม มัลติมีเดีย และสื่อโสตทัศนวัสดุ (2) ศูนย์การเรียนรู้ผู้พิการ
ทางสายตา (3) ห้องสมุดเด็ก (4) ห้องสมุดวัยรุ่น อายุไม่เกิน 16 ปี (5) ห้องสมุดไมโครฟอร์ม และ (6) ห้องสมุดหนังสือหายาก
4. พิพิธภัณฑ์ 3 พิพิธภัณฑ์ คือ (1) พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ (2) ห้องหนังสือต้นฉบับตัวเขียน และ (3) ห้อ
ประวัติศาตร์วิทยาศาสตร์
5. ท้องฟ้าจำลอง
6. ห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
7. ห้องแสดงวัฒนธรรมอียิปต์ ที่มีลักษณะพาโนรามา ใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ 9 เครื่อง แสดงวัฒนธรรมยุคต่างๆ
ของอียิปต์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพเป็นครึ่งวงกลม ผู้ชมสามารถเลือกรายการที่ต้องการให้แสดงแต่ละยุคสมัยได้ ตั้งแต่ 5,000 ปี จนถึงยุคใหม่ แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์และโลกมุสลิม
8. โปรแกรม VISTA (The Virtual Immersive Science and Technology Application System) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้เป็นข้อมูล 3 มิติ และสามารถสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ได้
9. ศูนย์การค้นคว้าวิจัย 7 สถาบัน (1) สถาบันเมดิเตอร์เรเนียนและอเล็กซานเดรียศึกษา (2) สถาบันศิลปะ (3) สถาบันการประดิษฐ์อักษร (4) ศูนย์การศึกษาพิเศษ (5) โรงเรียนนานาชาติด้านการศึกษาสารสนเทศ (6) สถาบันหนังสือตัวเขียนและจารึก (7) สถาบันการบันทึกข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ (ตั้งอยู่ที่ไคโร)
10. ห้องแสดงศิลปะถาวร ประกอบด้วย (1) ความประทับใจของเมืองอเล็กซานเดรีย (2) หนังสือของศิลปิน (3) โลกของชาดี อับเดล ซาเล็ม (4) อักษรอารบิค (5) ประวัติศาสตร์การพิมพ์ (6) เครื่องมือดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโลกมุสลิมสมัยกลาง (7) โมฮี เอล ดิน ฮัซซัน : การค้นพบที่สร้างสรรค์ (8) อับเดล ซาลาม อิด และ (9) รายายา เอล นิมมาร์ และ อับเดล-กานี อบู เอล เอเนอิน (โลกของเครื่องถ้วย)
11. ห้องแสดงศิลปะไม่ถาวร 4 ห้อง สำหรับหมุนเวียนแสดงศิลปะ
12. ศูนย์การประชุม จุผู้เข้าร่วมประชุมหลายพันที่นั่ง
13. ฟอรัม สำหรับแสดงความคิดเห็นด้านต่างๆ
นอกจากนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ยังทำหน้าที่เป็นสำนักงานของสถาบันต่างๆ คือ
1. สถาบันหอสมุดอเล็กซานเดรีย
2. สถาบันอาระบิก สำหรับจริยศาสตร์ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. มูลนิธิ Anna Lindh สำหรับภาษาถิ่นต่างวัฒนธรรม
4. สถาบันสันติภาพศึกษา ของ Suzanne Mulbarak
5. โครงการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์ HCM
6. ศูนย์พัฒนาการทางกฎหมายของ Jean-Rene Dupuy
7. ศูนย์ภูมิภาคอาหรับของสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาโลก
8. ศูนย์ภูมิภาค ของ IFLA
9. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการอาหรับแห่งชาติ องค์การยูเนสโก
10. เครือข่ายตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือ สำหรับเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น