เว็บบล็อกที่น่าสนใจ
http://popofblog.blogspot.com/
http://www.stks.or.th/blog/?p=156
http://lib.kru.ac.th/chumpot/chumpot.doc
http://gotoknow.org/blog/library-librarian/216315
http://human.tru.ac.th/elearning/tec_ban/tinfo01/info02.html
http://library2.parliament.go.th/wichakarn/content-ins/20071218.html
สนใจเว็บไซต์หรือเวบบล็อกเกี่ยวกับห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ ลองใช้คำค้น การรู้สารสนเทศ ค้นเพิ่มเติมได้จาก search engine
วันอาทิตย์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
วันพุธที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เว็บไซต์พลังงานแนะนำ
ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ด้านพลังงานของกระทรวงพลังงาน เป็นแหล่งรวบรวมความรู้เกี่ยวกับพลังงานจากแหล่งต่างๆ ท่านที่สนใจต้องการค้นหาเรื่องราวเกี่ยวกับพลังงานต่างๆ พลังงานทดแทน พลังงานทางเลือก เข้าไปที่ http://elibrary.energy.go.th วิธีใช้ไม่ยาก เมื่อเข้าไปแล้ว ไปที่ ช่อง search และป้อนคำสำคัญที่ต้องการค้นลงไป จะได้สื่อทั้งที่แสดงเป็น abstract, fulltext มัลติมีเดีย
ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิค ของ สอศ. น่าจะติดให้นักศึกษาได้รู้เพราะนักศึกษาทำรายงาน โครงงาน กันมาก เว็บไซต์นี้จะเป็นประโยชน์มาก
ห้องสมุดวิทยาลัยเทคนิค ของ สอศ. น่าจะติดให้นักศึกษาได้รู้เพราะนักศึกษาทำรายงาน โครงงาน กันมาก เว็บไซต์นี้จะเป็นประโยชน์มาก
Trip to California by Gordon and Juanita, WA
On our trip the first day we drove from Tacoma to Redding, California 596 miles. We had some rain and fog in Washington an Oregon. The rivers were flooded in Washington. the Skookumchuck River, the Newauken River, the Kalama river (indian Names) We saw many huge log trucks and in Oregon many sheep ranches.
The second day we drove 300 miles from Redding to Lemoore California. We saw almon groves, olive groves, some orange orchards, and huge rice fields. We saw many birds on some of the rice fields. There were many huge rice storage areas.
The third we drove from Lemore California to Riverside California another 300 miles. We saw huge dairry farms ---undreds of animals, corn fields, alfalfa fields, and huge grape fields.
It is very dry here and they use canals for water.
Palm Springs is in a valley and it is yellow and dry with lots of dust. They have lots of windmills for power on the outside of the Palm Springs, There are many small communities in the valley. In Palm Springs there are 50,000 people and many people come here to vacation in the winter time. They come to play golf. When you look at the mountains they look dry and brown. This is a desert area. Poeple come and stay in the resorts and hotels.
They plant trees and flowers around the hotels and they look beautiful. Some of the houses in the area do not look very nice because they do not have the trees and flowers. The fields
The second day we drove 300 miles from Redding to Lemoore California. We saw almon groves, olive groves, some orange orchards, and huge rice fields. We saw many birds on some of the rice fields. There were many huge rice storage areas.
The third we drove from Lemore California to Riverside California another 300 miles. We saw huge dairry farms ---undreds of animals, corn fields, alfalfa fields, and huge grape fields.
It is very dry here and they use canals for water.
Palm Springs is in a valley and it is yellow and dry with lots of dust. They have lots of windmills for power on the outside of the Palm Springs, There are many small communities in the valley. In Palm Springs there are 50,000 people and many people come here to vacation in the winter time. They come to play golf. When you look at the mountains they look dry and brown. This is a desert area. Poeple come and stay in the resorts and hotels.
They plant trees and flowers around the hotels and they look beautiful. Some of the houses in the area do not look very nice because they do not have the trees and flowers. The fields
ปิระมิดแห่งอียิปต์
ฐานของปิรามิด มีขนาดใหญ่มาก ส่วนที่เห็นด้านหลังนั้นไม่ใช่พื้น แต่เป็นความสูงของปิรามิด ขนาดของหินแต่ละก้อน มีขนาดใหญ่มาก จะเห็นว่าคนยืน 2 คน ยังมีขนาดเล็กกว่าก้อนหิน หินที่อยู่ด้านล่างจะมีน้ำหนักน้อยกว่าหินที่อยู่ด้านบน ซึ่งถือเป็นภูมิปัญญาของคนโบราณ แต่ที่น่าแปลกคือ ใช้วิธีการอย่างไร ถึงได้ก่อสร้างได้ ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไมจึงกลายเป้นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก เคยเห็นปราสาทนครวัดแล้ว ยังตกใจว่ายิ่งใหญ่เหลือเกิน แต่เมื่อเห็นปิระมิด ไม่อยากใช้คำว่ายิ่งใหญ่ ต้องใช้คำว่า อภิ เพรามันมากกว่าคำว่ายิ่งใหญ่
ขอบคุณสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยที่ทำให้ได้เห็นสิ่งที่ไม่คิดว่าจะได้เห็น
อียิปต์ 22 ตุลาคม 2551
วันจันทร์ที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
หน่วยที่ 2 ห้องสมุดกับการรู้สารสนเทศ
กิจกรรมที่ 1 เขียนconcept หรือ คำสำคัญ โดยตั้งคำถามเกี่ยวกับหัวข้อนั้น เช่น
หัวข้อ : กุหลาบ
หัวข้อ : กุหลาบ
ตั้งคำถามว่า มีความเป็นมาอย่างไร = ตำนาน
คืออะไร = ความหมาย
แทนอะไร = สมญานาม
ใช้ทำอะไร = ประโยชน์
มีลักษณะอย่างไร = ลักษณะ
สรุป concept/คำสำคัญ : สมญานาม ตำนาน ความหมาย ประโยชน์ ลักษณะ
กิจกรรมที่ 2 จับคู่ คำที่สอดคล้องกัน
กิจกรรมที่ 3 กำหนดหัวข้อและคำสำคัญ โดยเลือก concept หรือ คำสำคัญ ทำเป็นmind map ตามแบบฟอร์มที่กำหนดให้
หัวข้อที่เลือกได้แล้ว ให้ค้นข้อมูลจากเว็บไซต์ แล้วทำแบบฝึกหัดหน่วยที่ 3 แบบฝึกหัดสุดท้าย
วันอาทิตย์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
The Use of Automated Library System in Technical College, Thailand
The Use of Automated Library System in Technical College, Thailand. (Abstract) "Natrapintr Benjawong"
This 'technological library project' was under the jurisdiction of the Technical College Division and the first data on the use of automated library systems were collected using questionnaires. These data were analyzed by percentage analysis. The second set of data on problems and needs encountered by libraries were collected by interviewing 15 library chiefs, whose educational background was library science. The library chiefs had experience using software including cataloguing, circulation, and online public access catalogue. These date were analyzed by the method of content analysis.
It was found that ISIS 2000, Library 2000 and Library 2001 were the most widely used software. The developers of the software were Thai. The hardware used among the librarians was a networking system. In all libraries the personnel included a chief librarian, a teacher who served as an assistant librarian, and a general library assistant. Most of the staff had 1 to 5 years computer applications experience. Most of the libraries had small budgets for maintenance and a staff development, averaging less than 10,000 baht.
In terms of problems of library use incompetent personnel was the most serious one. Other serious problems were inadequate budge, out of date software, lack of system analysis, and development, and lack of up to date hardware.
Needs for automated library systems are more computer qualified staff, larger budgets, for staff development and for hardware acquisition and maintenance, and user friendly software which facilitates learning. The transferability of date and the compatability of the old and new version of software should be taken into consideration The person in charge must pay close attention and provide high quality installation services, which includes maintenance and updating of new software programs. Of equal
This 'technological library project' was under the jurisdiction of the Technical College Division and the first data on the use of automated library systems were collected using questionnaires. These data were analyzed by percentage analysis. The second set of data on problems and needs encountered by libraries were collected by interviewing 15 library chiefs, whose educational background was library science. The library chiefs had experience using software including cataloguing, circulation, and online public access catalogue. These date were analyzed by the method of content analysis.
It was found that ISIS 2000, Library 2000 and Library 2001 were the most widely used software. The developers of the software were Thai. The hardware used among the librarians was a networking system. In all libraries the personnel included a chief librarian, a teacher who served as an assistant librarian, and a general library assistant. Most of the staff had 1 to 5 years computer applications experience. Most of the libraries had small budgets for maintenance and a staff development, averaging less than 10,000 baht.
In terms of problems of library use incompetent personnel was the most serious one. Other serious problems were inadequate budge, out of date software, lack of system analysis, and development, and lack of up to date hardware.
Needs for automated library systems are more computer qualified staff, larger budgets, for staff development and for hardware acquisition and maintenance, and user friendly software which facilitates learning. The transferability of date and the compatability of the old and new version of software should be taken into consideration The person in charge must pay close attention and provide high quality installation services, which includes maintenance and updating of new software programs. Of equal
วันพุธที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
ซิทาเดล (Citadel) และสุเหร่าโมฮัมหมัด อาลี ในไคโร
The Citadel หรือป้อมปราการ สมัยอิสลามรุ่งเรืองในอียิปต์ ป้อมนี้ ถูกสร้างขึ้นในปี 1176 โดย กษัตริย์ซาลามดิน ถ้าได้ดูภาพยนตร์เรื่อง The Kingdom of Heaven จะเห็นความยิ่งใหญ่ของ Saladin, Muslim general หรือ กษัตริย์ ซาลามดินในเรื่อง เพราะเขาคือผู้สร้างที่นี่ โดยใช้หินจากปิรามิด แห่ง กีเซ มาสร้างกำแพงเพื่อเป็นป้อมปราการป้องกันประเทศจากสงครามครูเสด ป้อมซิทาเดลเป็นจุดที่นักท่องเที่ยวนิยมแวะ ภายนอกป้อมสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของกรุงไคโร สุเหร่า พิพิธภัณฑ์ สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เช่น ปิระมิด ได้ ที่นี่มีพิพิธภัณฑ์ทหาร ตำรวจ อยู่ด้านนอกด้วย ส่วนภายในป้อม จะมี Muhammad Ali Mosque (สุเหร่าโมฮัมหมัด อาลี) สุเหร่าที่ใหญ่และสูงที่สุดในกรุงไคโร ออกแบบโดยสถาปนิกชาวกรีก สร้างในปี ค.ศ. 1830 เสร็จปี ค.ศ. 1848 ต้องการให้มีรูปแบบเหมือน Blue Mosque ที่อิสตันบูล แต่ทำได้ไม่เหมือน ตรงกลางเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีโดมขนาดใหญ่สูง 52 เมตร เส้นผ่าศูนย์กลาง 21 เมตร มีโดมขนาดเล็กรองรับอีก 4 มุม ตัวอาคารสร้างด้วยหิน อลาบาสต์ ตกแต่งด้วยโคมไฟระย้างดงามตามแบบศิลปะอิสลาม หน้าสุเหร่ามีหอนาฬิกา ที่พระเจ้าหลุยส์ฟิลิปป์แห่งฝรั่งเศส มอบให้รัฐบาลอียิปต์เป็นของขวัญ แลกเปลี่ยนกับเสาโอเบลิสต์ ปัจจุบันตั้งอยู่ที่กรุงปารีส หน้าโดมจะมีแท่นน้ำพุ แต่ปัจจุบันใช้งานไม่ได้
สุสานCatacomb เสาปอมเปย์ ป้อมปราสาท(Qaitbay)
สุสาน catacomb เป็นสุสานของชาวคริสต์ ในอเล็กซานเดรียสร้างไว้ใต้ดิน มีหลายชั้น แต่ละชั้นจะมีทางเดิน ถือเป็นสุสานที่ใหญ่ที่สุดที่พบในอียิปต์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยศตวรรษที่ 2 เดิมเป็นสุสานส่วนบุคคล ต่อมาได้ขยายให้มีขนาดใหญ่ขึ้นเพื่อเป็นสุสานของชาวโรมันที่นับถือคริสตศาสนา สุสานแห่งนี้ถูกค้นพบโดยบังเอิญ เมื่อลาตัวหนึ่งพลัดหลงเข้าไปในโพรงใต้ดิน เมื่อปี ค.ศ.1900 จัดเป็นสุสานโรมันที่ใหญ่ที่สุดและคงสภาพสมบูรณ์สวยงามที่สุดในโลก จึงถูกจัดให้เป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคกลาง สุสานแห่งนี้มีลักษณะพิเศษด้วยศิลปะการตกแต่งที่ไม่อาจพบเห็นได้โดยทั่วไปในอียิปต์ ภายในสุสานศิลปินได้ผสมผสานศิลปะอียิปต์กับศิลปะแบบคลาสสิคของ กรีกและโรมันเข้าด้วยกัน ถือเป็นรูปแบบเฉพาะตัวของอเล็กซานเดรียอย่างแท้จริง สุสานแห่งนี้สร้างลึกลงไปในดิน 35 เมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น ภายในสุสานจะมีแท่นตั้งหีบศพ ตัวหีบศพทำด้วยหิน มีการแบ่งพื้นที่ตามฐานะของผู้ตาย ศพของผู้ที่มีอันจะกิน จะดูโอ่โถง ส่วนศพของคนธรรมดา จะมีขนาดเล็กและมีจำนวนมากต่อพื้นที่ สุสานนี้รอดพ้นจากน้ำท่วม เพราะอยู่สูงกว่าระดับน้ำ ในปัจจุบันมีการทำทางระบายน้ำและมีการนำน้ำที่เสียมาผ่านกระบวนการเพื่อเปลี่ยนเป็นน้ำดี
ส่วนเสาปอมเปย์ เป็นเสาที่ตั้งมานานกว่า 5,000 ปี เป็นเสาหินแกรนิตสีแดงสูง 27 เมตร หนา 9 เมตร ทำจากหินแกรนิตสีชมพู(แดง) จากเมืองอัสวาน หัวเสาตกแต่งด้วยลวดลายคอรินเทรียน ศิลปะแบบกรีก สร้างถวาย จักรพรรดิ์ Diocletian ในปี ค.ศ. 297 บริเวณใกล้ๆ กันมีสฟิงซ์ที่ทำจากแกรนิตหมอบอยู่ 3 ตัว และซากโบราณสถานที่คาดว่าเป็นหมู่วิหารของเทพ SERAPIS เทพประจำเมืองอเล็กซานเดรีย แต่ถูกทำลายโดยพวกคริสเตียนในสมัยศตวรรษที่ 4 คงเหลือแต่เสาปอมเปย์ที่ปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สูงที่สุดในโลก ยังมีร่องรอยอารยธรรมที่สร้างขึ้นสมัยอเล็กซานเดรียเป็นเมืองขึ้นของโรมัน ปอมเปย์นั้นเป็นชื่อเพื่อนสนิทของซีซ่า แต่ภายหลังทั้งคู่กลายเป็นศัตรู ปอมเปย์จึงหลบหนีมาที่เมืองอเล็กซานเดรียนี้ และที่นี่เอง ที่เล่ากันว่าซีซ่าได้ตามมาสังหาร และเผาศีรษะของปอมเปย์ที่เสาแห่งนี้ ที่นี่มีทางลงใต้ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องสมุดด้วย
ป้อมปราสาทริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน(QAIT BAY) เป็นป้อมปราสาทขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าเรือด้านตะวันออกริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในอเล็กซานเดรีย ทางตะวันออกของเกาะฟาโรห์ ป้อมนี้สร้างโดย สุลต่าน อัล-อัสราฟ เซย์ฟ อัล-ดิน เควสเบย์ ในศตวรรษที่ 15 (ค.ศ. 1477) ถือได้ว่าเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ที่มีความสำคัญไม่เฉพาะในอียิปต์ แต่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดิมทีป้อมปราสาทนี้เป็นประภาคารของอเล็กซานเดรีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ตัวประภาคารได้ถูกภัยพิบัติต่างๆ ทำลายจนทำให้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปบ้าง และได้ถูกซ่อมแซมในยุคของ อาเหม็ด อิบ ตูลัน (ค.ศ. 880) ในศตวรรษที่ 11 เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ประภาคารถูกทำลายไปบางส่วน เหลือส่วนฐาน ใช้เฉพาะเป็นหอนิทัศน์ และได้สร้างสุเหร่าขนาดเล็กขึ้นไว้ที่ส่วนยอด ต่อมา ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นอีก ตัวประภาคารได้ถูกทำลายไปหมด สุลต่านอัล-อัสราฟ เซย์ฟ อัล-ดิน เควสเบย์ ได้สร้างเป็นป้อมขึ้นใหม่ มีรูปร่างอย่างที่เห็นทุกวันนี้
ส่วนเสาปอมเปย์ เป็นเสาที่ตั้งมานานกว่า 5,000 ปี เป็นเสาหินแกรนิตสีแดงสูง 27 เมตร หนา 9 เมตร ทำจากหินแกรนิตสีชมพู(แดง) จากเมืองอัสวาน หัวเสาตกแต่งด้วยลวดลายคอรินเทรียน ศิลปะแบบกรีก สร้างถวาย จักรพรรดิ์ Diocletian ในปี ค.ศ. 297 บริเวณใกล้ๆ กันมีสฟิงซ์ที่ทำจากแกรนิตหมอบอยู่ 3 ตัว และซากโบราณสถานที่คาดว่าเป็นหมู่วิหารของเทพ SERAPIS เทพประจำเมืองอเล็กซานเดรีย แต่ถูกทำลายโดยพวกคริสเตียนในสมัยศตวรรษที่ 4 คงเหลือแต่เสาปอมเปย์ที่ปรากฏให้เห็นจนถึงทุกวันนี้ ถือได้ว่าเป็นโบราณสถานที่สูงที่สุดในโลก ยังมีร่องรอยอารยธรรมที่สร้างขึ้นสมัยอเล็กซานเดรียเป็นเมืองขึ้นของโรมัน ปอมเปย์นั้นเป็นชื่อเพื่อนสนิทของซีซ่า แต่ภายหลังทั้งคู่กลายเป็นศัตรู ปอมเปย์จึงหลบหนีมาที่เมืองอเล็กซานเดรียนี้ และที่นี่เอง ที่เล่ากันว่าซีซ่าได้ตามมาสังหาร และเผาศีรษะของปอมเปย์ที่เสาแห่งนี้ ที่นี่มีทางลงใต้ดิน ซึ่งเป็นที่ตั้งของห้องสมุดด้วย
ป้อมปราสาทริมทะเลเมดิเตอร์เรเนียน(QAIT BAY) เป็นป้อมปราสาทขนาดใหญ่ตั้งอยู่ที่ท่าเรือด้านตะวันออกริมฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในอเล็กซานเดรีย ทางตะวันออกของเกาะฟาโรห์ ป้อมนี้สร้างโดย สุลต่าน อัล-อัสราฟ เซย์ฟ อัล-ดิน เควสเบย์ ในศตวรรษที่ 15 (ค.ศ. 1477) ถือได้ว่าเป็นป้อมปราการที่แข็งแกร่ง ที่มีความสำคัญไม่เฉพาะในอียิปต์ แต่ตลอดแนวชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เดิมทีป้อมปราสาทนี้เป็นประภาคารของอเล็กซานเดรีย ซึ่งถือได้ว่าเป็นหนึ่งใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคโบราณ ตัวประภาคารได้ถูกภัยพิบัติต่างๆ ทำลายจนทำให้เปลี่ยนแปลงรูปร่างไปบ้าง และได้ถูกซ่อมแซมในยุคของ อาเหม็ด อิบ ตูลัน (ค.ศ. 880) ในศตวรรษที่ 11 เกิดแผ่นดินไหว ทำให้ประภาคารถูกทำลายไปบางส่วน เหลือส่วนฐาน ใช้เฉพาะเป็นหอนิทัศน์ และได้สร้างสุเหร่าขนาดเล็กขึ้นไว้ที่ส่วนยอด ต่อมา ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดแผ่นดินไหวรุนแรงขึ้นอีก ตัวประภาคารได้ถูกทำลายไปหมด สุลต่านอัล-อัสราฟ เซย์ฟ อัล-ดิน เควสเบย์ ได้สร้างเป็นป้อมขึ้นใหม่ มีรูปร่างอย่างที่เห็นทุกวันนี้
ห้องสมุด มหาวิทยาลัย Al Azhar (อัล อัซฮัร)
มหาวิทยาลัยอัล อัซฮัร มีความเก่าแก่มากกว่ามหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ของอังกฤษ ก่อตั้งขึ้นครั้งแรก ไม่ได้เป็นสถาบันการศึกษาเหมือนดังปัจจุบัน แต่เพื่อเป็นมัสยิดหลวงของพวกฟาตีมียะห์ และเพื่อเป็นสัญลักษณ์ถึงการเผยแพร่แนวคำสอนของชีอะห์ ความคิดในเรื่องการใช้มัสยิดแห่งนี้เป็นสถาบันการศึกษานั้นพึ่งจะมาเริ่มในยุคสมัยคอลีฟะห์ อัลอาซีซ บิลลาห์ ซึ่งเป็นผลจากการเผยแพร่แนวคำสอนของชีอะห์อย่างจริงจัง ดังนั้นในปี ฮ.ศ. 378 เสนาบดียะกู๊บ อิบนุ กิลลิซ ซึ่งเป็นชาวยิวที่รับอิสลาม ได้แต่งตั้งนักวิชาการนิติศาสตร์จำนวน 37 ท่าน ให้ดำเนินการเรียนการสอนตามแนวทางชีอะห์ ตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา มัสยิดญามิอ์ อัลอัซฮัร ก็กลายเป็นสถาบันทางการศึกษาหรือมหาวิทยาลัยที่สำคัญในโลกอิสลาม เหตุที่เรียกสถาบันทางการศึกษาซึ่งแต่ดั้งเดิมคือมัสยิดญามิอ์แห่งนี้ว่า อัลอัซฮัร ก็เพื่อว่าเป็นอนุสรณ์แก่ท่านหญิงฟาตีมะห์ อัซซะฮ์รอฮ์ บุตรีของท่านศาสนทูต บ้างก็ว่าที่เรียกเช่นนั้นก็เพราะมีบรรดาปราสาท และตำหนักของคอลีฟะห์ตลอดจนสวนดอกไม้ ที่ถูกสร้างอยู่รายรอบ มัสยิดญามิอ์ แห่งนี้ก็ได้กลับมาเป็นสถานที่ละหมาดวันศุกร์ และเป็นสถาบันทางวิชาการตามแนวทางของอะห์ลิซซุนนะห์ อัลญะมาอะห์ ในสมัยราชวงศ์ อัลอัยยูบีย์ ซึ่งมีท่านซอลาฮุดดีน เป็นปฐมราชวงศ์ และยังคงมีการเรียนการสอนในระดับอุดมศึกษาจวบจน (ปริญญาเอก) มาจนกระทั่งถึงทุกวันนี้ เปิดสอนหลักสูตร คณะศาสนศาสตร์ คณะนิติศาสตร์อิสลาม-สากล คณะอักษรศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์อิสลามและภาษาอาหรับ คณะนิเทศศาสตร์ คณะพาณิชยกรรมศาสตร์ คณะคุรุศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์และการแปล คณะแพทย์ศาสตร์ คณะเภสัชกรรมศาสตร์ คณะทันตกรรมศาสตร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์
ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เป็นที่เก็บเอกสารหนังสือเก่า หนังสือหายาก และต้นฉบับตัวเขียน เอกสารที่เป็น
เอกสารเก่า จะมีการถ่ายไมโครฟีล์มเก็บไว้เพื่อให้บริการ ดังนั้น จึงมีแผนกสำหรับทำต้นฉบับไมโครฟีล์ม โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
ห้องสมุดของมหาวิทยาลัย เป็นที่เก็บเอกสารหนังสือเก่า หนังสือหายาก และต้นฉบับตัวเขียน เอกสารที่เป็น
เอกสารเก่า จะมีการถ่ายไมโครฟีล์มเก็บไว้เพื่อให้บริการ ดังนั้น จึงมีแผนกสำหรับทำต้นฉบับไมโครฟีล์ม โดยเฉพาะ เจ้าหน้าที่ของห้องสมุดส่วนใหญ่เป็นผู้ชาย
ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย
ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างขึ้นเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญมาก อาร์คีมิดิสและยูคลิดใช้บริการของห้องสมุดนี้ ในสมัยนั้น ศูนย์กลางการศึกษาคณิตศาสตร์เคยอยู่กับพิธากอรัส แต่สองศตวรรษหลังจากพิธากอรัสเสียชีวิตลง ศูนย์การเรียนเลขได้ย้ายไป อยู่ที่อเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ได้ชัยชนะเหนือกรีก เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ได้สร้างเมืองหลวงที่ทรงตั้งพระทัยให้เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยม ที่สุดในโลก เมื่อราชวงศ์พโทเลมีขึ้นครองอียิปต์ อเล็กซานเดรียก็ได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหล มาสู่เมืองนี้จากชื่อเสียงของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดนี้ตั้งขึ้นจากแนวคิดของ Demetrius Phalaerus ที่ โน้มน้าวให้พโทเลมีรวบรวมหนังสือดี ๆ โดยบอกว่าคนเก่งกาจจะตามมาเอง จึงได้มีการรวบรวมหนังสือจากทั่วอียิปต์ กรีก เอเชียไมเนอร์ และยุโรป ความพยายามในการหาหนังสือนั้นเข้มข้น ชนิดที่ว่านักท่องเที่ยวที่เข้าอเล็กซานเดรียทุกคนจะถูกริบหนังสือ โดยหนังสือนั้นจะถูกนำไปคัดลอก (โดยการเขียนด้วยมือ) แต่ห้องสมุดจะขอเก็บต้นฉบับไว ้และ คืนฉบับคัดลอกให้เจ้าของ ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือถึงหกแสนเล่มในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้กันว่านักคณิตศาสตร์สามารถหาความรู้ ทุกอย่าง ในโลกได้โดยการมาที่ห้องสมุดนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียถูกทำลายหลายครั้ง ตั้งแต่ 47 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อจูเลียส ซีซาร์โจมตีคลีโอพัตราด้วยการเผาท่าเรืออเล็กซานเดรีย ห้องสมุดตั้งอยู่ติดกับท่าเรือจึงพลอยถูกเผาไปด้วย หนังสือนับแสนเล่มถูกทำลาย แต่คลีโอพัตราตั้งพระทัยมั่น จะบูรณะห้องสมุดให้กลับคืนมาดีเหมือนเดิม มาร์ก แอนโทนีจึงยกทัพไปตีเมือง Pergamum ที่มีหนังสือดี และขนหนังสือทั้งหมดกลับอียิปต์ ปัจจุบันห้องสมุดนี้สร้างในที่ๆ ห้องสมุดเคยตั้งและถูกเผาในศตวรรษที่สี่ โดยใช้เวลาการสร้างใหม่ 12 ปี ด้วยเงินทุน 220 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความร่วมมือขององค์การยูเนสโก ประกอบด้วย อาคาร 3 หลัง ได้แก่ ส่วนของอาคารหอสมุด ศูนย์การประชุม ท้องฟ้าจำลอง แต่ละหลังเชื่อมกันด้วยทางเดินใต้ดิน
อาคารหลักของห้องสมุดมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามยิ่ง เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์กำลังขึ้น ประชันกับเชิงชั้นแห่งความรู้ หลังคาเป็นชั้นๆ ลาดลงมา เปรียบเสมือนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ เป็นสัญญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ชิฟที่ทันสมัย ตัวอาคารตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ศูนย์กลางของเมืองอเล็กซานเดรีย ทำให้ห้องสมุดอเล็กซานเดรียเป็นยิ่งกว่าห้องสมุด เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การพบปะเจรจา ศูนย์กลางแห่งความสมานฉันท์ รายละเอียดของห้องสมุด ประกอบด้วย
1. หอสมุด ที่มีหนังสือหลายล้านเล่ม
2. เป็นศูนย์อินเตอร์เน็ต จดหมายเหตุ และอื่นๆ
3. ห้องสมุดเฉพาะ 6 ห้องสมุด คือ (1) ศิลปกรรม มัลติมีเดีย และสื่อโสตทัศนวัสดุ (2) ศูนย์การเรียนรู้ผู้พิการ
ทางสายตา (3) ห้องสมุดเด็ก (4) ห้องสมุดวัยรุ่น อายุไม่เกิน 16 ปี (5) ห้องสมุดไมโครฟอร์ม และ (6) ห้องสมุดหนังสือหายาก
4. พิพิธภัณฑ์ 3 พิพิธภัณฑ์ คือ (1) พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ (2) ห้องหนังสือต้นฉบับตัวเขียน และ (3) ห้อ
ประวัติศาตร์วิทยาศาสตร์
5. ท้องฟ้าจำลอง
6. ห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
7. ห้องแสดงวัฒนธรรมอียิปต์ ที่มีลักษณะพาโนรามา ใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ 9 เครื่อง แสดงวัฒนธรรมยุคต่างๆ
ของอียิปต์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพเป็นครึ่งวงกลม ผู้ชมสามารถเลือกรายการที่ต้องการให้แสดงแต่ละยุคสมัยได้ ตั้งแต่ 5,000 ปี จนถึงยุคใหม่ แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์และโลกมุสลิม
8. โปรแกรม VISTA (The Virtual Immersive Science and Technology Application System) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้เป็นข้อมูล 3 มิติ และสามารถสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ได้
9. ศูนย์การค้นคว้าวิจัย 7 สถาบัน (1) สถาบันเมดิเตอร์เรเนียนและอเล็กซานเดรียศึกษา (2) สถาบันศิลปะ (3) สถาบันการประดิษฐ์อักษร (4) ศูนย์การศึกษาพิเศษ (5) โรงเรียนนานาชาติด้านการศึกษาสารสนเทศ (6) สถาบันหนังสือตัวเขียนและจารึก (7) สถาบันการบันทึกข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ (ตั้งอยู่ที่ไคโร)
10. ห้องแสดงศิลปะถาวร ประกอบด้วย (1) ความประทับใจของเมืองอเล็กซานเดรีย (2) หนังสือของศิลปิน (3) โลกของชาดี อับเดล ซาเล็ม (4) อักษรอารบิค (5) ประวัติศาสตร์การพิมพ์ (6) เครื่องมือดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโลกมุสลิมสมัยกลาง (7) โมฮี เอล ดิน ฮัซซัน : การค้นพบที่สร้างสรรค์ (8) อับเดล ซาลาม อิด และ (9) รายายา เอล นิมมาร์ และ อับเดล-กานี อบู เอล เอเนอิน (โลกของเครื่องถ้วย)
11. ห้องแสดงศิลปะไม่ถาวร 4 ห้อง สำหรับหมุนเวียนแสดงศิลปะ
12. ศูนย์การประชุม จุผู้เข้าร่วมประชุมหลายพันที่นั่ง
13. ฟอรัม สำหรับแสดงความคิดเห็นด้านต่างๆ
นอกจากนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ยังทำหน้าที่เป็นสำนักงานของสถาบันต่างๆ คือ
1. สถาบันหอสมุดอเล็กซานเดรีย
2. สถาบันอาระบิก สำหรับจริยศาสตร์ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. มูลนิธิ Anna Lindh สำหรับภาษาถิ่นต่างวัฒนธรรม
4. สถาบันสันติภาพศึกษา ของ Suzanne Mulbarak
5. โครงการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์ HCM
6. ศูนย์พัฒนาการทางกฎหมายของ Jean-Rene Dupuy
7. ศูนย์ภูมิภาคอาหรับของสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาโลก
8. ศูนย์ภูมิภาค ของ IFLA
9. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการอาหรับแห่งชาติ องค์การยูเนสโก
10. เครือข่ายตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือ สำหรับเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม
ห้องสมุดอเล็กซานเดรียสร้างขึ้นเมื่อสองพันห้าร้อยกว่าปีก่อน ซึ่งเป็นห้องสมุดที่อนุญาตให้เฉพาะพระเจ้าแผ่นดิน เจ้านาย ขุนนาง และชนชั้นที่ร่ำรวยเท่านั้น ที่จะสามารถเข้าไปใช้บริการในห้องสมุดได้ เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ที่สำคัญมาก อาร์คีมิดิสและยูคลิดใช้บริการของห้องสมุดนี้ ในสมัยนั้น ศูนย์กลางการศึกษาคณิตศาสตร์เคยอยู่กับพิธากอรัส แต่สองศตวรรษหลังจากพิธากอรัสเสียชีวิตลง ศูนย์การเรียนเลขได้ย้ายไป อยู่ที่อเล็กซานเดรีย พระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ได้ชัยชนะเหนือกรีก เอเชียไมเนอร์ และอียิปต์ ได้สร้างเมืองหลวงที่ทรงตั้งพระทัยให้เป็นเมืองที่ยอดเยี่ยม ที่สุดในโลก เมื่อราชวงศ์พโทเลมีขึ้นครองอียิปต์ อเล็กซานเดรียก็ได้เป็นเมืองมหาวิทยาลัยแห่งแรกในโลก นักคณิตศาสตร์และนักปราชญ์หลั่งไหล มาสู่เมืองนี้จากชื่อเสียงของห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ห้องสมุดนี้ตั้งขึ้นจากแนวคิดของ Demetrius Phalaerus ที่ โน้มน้าวให้พโทเลมีรวบรวมหนังสือดี ๆ โดยบอกว่าคนเก่งกาจจะตามมาเอง จึงได้มีการรวบรวมหนังสือจากทั่วอียิปต์ กรีก เอเชียไมเนอร์ และยุโรป ความพยายามในการหาหนังสือนั้นเข้มข้น ชนิดที่ว่านักท่องเที่ยวที่เข้าอเล็กซานเดรียทุกคนจะถูกริบหนังสือ โดยหนังสือนั้นจะถูกนำไปคัดลอก (โดยการเขียนด้วยมือ) แต่ห้องสมุดจะขอเก็บต้นฉบับไว ้และ คืนฉบับคัดลอกให้เจ้าของ ห้องสมุดได้รวบรวมหนังสือถึงหกแสนเล่มในเวลาต่อมา และเป็นที่รู้กันว่านักคณิตศาสตร์สามารถหาความรู้ ทุกอย่าง ในโลกได้โดยการมาที่ห้องสมุดนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรียถูกทำลายหลายครั้ง ตั้งแต่ 47 ปี ก่อนคริสตกาล เมื่อจูเลียส ซีซาร์โจมตีคลีโอพัตราด้วยการเผาท่าเรืออเล็กซานเดรีย ห้องสมุดตั้งอยู่ติดกับท่าเรือจึงพลอยถูกเผาไปด้วย หนังสือนับแสนเล่มถูกทำลาย แต่คลีโอพัตราตั้งพระทัยมั่น จะบูรณะห้องสมุดให้กลับคืนมาดีเหมือนเดิม มาร์ก แอนโทนีจึงยกทัพไปตีเมือง Pergamum ที่มีหนังสือดี และขนหนังสือทั้งหมดกลับอียิปต์ ปัจจุบันห้องสมุดนี้สร้างในที่ๆ ห้องสมุดเคยตั้งและถูกเผาในศตวรรษที่สี่ โดยใช้เวลาการสร้างใหม่ 12 ปี ด้วยเงินทุน 220 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยความร่วมมือขององค์การยูเนสโก ประกอบด้วย อาคาร 3 หลัง ได้แก่ ส่วนของอาคารหอสมุด ศูนย์การประชุม ท้องฟ้าจำลอง แต่ละหลังเชื่อมกันด้วยทางเดินใต้ดิน
อาคารหลักของห้องสมุดมีรูปทรงทางสถาปัตยกรรมที่สวยงามยิ่ง เป็นสัญลักษณ์ของพระอาทิตย์กำลังขึ้น ประชันกับเชิงชั้นแห่งความรู้ หลังคาเป็นชั้นๆ ลาดลงมา เปรียบเสมือนผืนผ้าใบขนาดใหญ่ เป็นสัญญลักษณ์ของคอมพิวเตอร์ชิฟที่ทันสมัย ตัวอาคารตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ศูนย์กลางของเมืองอเล็กซานเดรีย ทำให้ห้องสมุดอเล็กซานเดรียเป็นยิ่งกว่าห้องสมุด เป็นศูนย์กลางแห่งการเรียนรู้ ศูนย์การพบปะเจรจา ศูนย์กลางแห่งความสมานฉันท์ รายละเอียดของห้องสมุด ประกอบด้วย
1. หอสมุด ที่มีหนังสือหลายล้านเล่ม
2. เป็นศูนย์อินเตอร์เน็ต จดหมายเหตุ และอื่นๆ
3. ห้องสมุดเฉพาะ 6 ห้องสมุด คือ (1) ศิลปกรรม มัลติมีเดีย และสื่อโสตทัศนวัสดุ (2) ศูนย์การเรียนรู้ผู้พิการ
ทางสายตา (3) ห้องสมุดเด็ก (4) ห้องสมุดวัยรุ่น อายุไม่เกิน 16 ปี (5) ห้องสมุดไมโครฟอร์ม และ (6) ห้องสมุดหนังสือหายาก
4. พิพิธภัณฑ์ 3 พิพิธภัณฑ์ คือ (1) พิพิธภัณฑ์วัตถุโบราณ (2) ห้องหนังสือต้นฉบับตัวเขียน และ (3) ห้อ
ประวัติศาตร์วิทยาศาสตร์
5. ท้องฟ้าจำลอง
6. ห้องทดลองวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก
7. ห้องแสดงวัฒนธรรมอียิปต์ ที่มีลักษณะพาโนรามา ใช้เครื่องโปรเจคเตอร์ 9 เครื่อง แสดงวัฒนธรรมยุคต่างๆ
ของอียิปต์ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ จอภาพเป็นครึ่งวงกลม ผู้ชมสามารถเลือกรายการที่ต้องการให้แสดงแต่ละยุคสมัยได้ ตั้งแต่ 5,000 ปี จนถึงยุคใหม่ แสดงให้เห็นถึงมรดกทางวัฒนธรรมของอียิปต์และโลกมุสลิม
8. โปรแกรม VISTA (The Virtual Immersive Science and Technology Application System) เป็นโปรแกรมที่ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนข้อมูลธรรมดาให้เป็นข้อมูล 3 มิติ และสามารถสร้างเป็นรูปทรงต่างๆ ได้
9. ศูนย์การค้นคว้าวิจัย 7 สถาบัน (1) สถาบันเมดิเตอร์เรเนียนและอเล็กซานเดรียศึกษา (2) สถาบันศิลปะ (3) สถาบันการประดิษฐ์อักษร (4) ศูนย์การศึกษาพิเศษ (5) โรงเรียนนานาชาติด้านการศึกษาสารสนเทศ (6) สถาบันหนังสือตัวเขียนและจารึก (7) สถาบันการบันทึกข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรมและวิทยาการ (ตั้งอยู่ที่ไคโร)
10. ห้องแสดงศิลปะถาวร ประกอบด้วย (1) ความประทับใจของเมืองอเล็กซานเดรีย (2) หนังสือของศิลปิน (3) โลกของชาดี อับเดล ซาเล็ม (4) อักษรอารบิค (5) ประวัติศาสตร์การพิมพ์ (6) เครื่องมือดาราศาสตร์และวิทยาศาสตร์ของโลกมุสลิมสมัยกลาง (7) โมฮี เอล ดิน ฮัซซัน : การค้นพบที่สร้างสรรค์ (8) อับเดล ซาลาม อิด และ (9) รายายา เอล นิมมาร์ และ อับเดล-กานี อบู เอล เอเนอิน (โลกของเครื่องถ้วย)
11. ห้องแสดงศิลปะไม่ถาวร 4 ห้อง สำหรับหมุนเวียนแสดงศิลปะ
12. ศูนย์การประชุม จุผู้เข้าร่วมประชุมหลายพันที่นั่ง
13. ฟอรัม สำหรับแสดงความคิดเห็นด้านต่างๆ
นอกจากนี้ ห้องสมุดอเล็กซานเดรีย ยังทำหน้าที่เป็นสำนักงานของสถาบันต่างๆ คือ
1. สถาบันหอสมุดอเล็กซานเดรีย
2. สถาบันอาระบิก สำหรับจริยศาสตร์ในวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
3. มูลนิธิ Anna Lindh สำหรับภาษาถิ่นต่างวัฒนธรรม
4. สถาบันสันติภาพศึกษา ของ Suzanne Mulbarak
5. โครงการศึกษาวิจัยทางด้านการแพทย์ HCM
6. ศูนย์พัฒนาการทางกฎหมายของ Jean-Rene Dupuy
7. ศูนย์ภูมิภาคอาหรับของสถาบันวิทยาศาสตร์เพื่อพัฒนาโลก
8. ศูนย์ภูมิภาค ของ IFLA
9. สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการอาหรับแห่งชาติ องค์การยูเนสโก
10. เครือข่ายตะวันออกกลางและอาฟริกาเหนือ สำหรับเศรษฐกิจสิ่งแวดล้อม
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)